ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาลในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

Main Article Content

ทรงศรี อินทรสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาล และเปรียบเทียบปัจจัยดังกล่าวจำแนกตามประเภทโรงพยาบาลที่ใช้บริการ อาชีพ และรายได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กำหนดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย จากประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบที และสถิติการทดสอบเอฟ ผลจากการวิจัย ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงพยาบาลในเขตเทศบาลนครอุดรธานีทั้งในภาพรวมและรายด้านทั้ง 7 ด้าน คือ ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการ ด้านราคา และด้านส่งเสริมการตลาด มีความสำคัญอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ผู้ใช้บริการโรงพยาบาลที่มีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน ได้แก่ ประเภทโรงพยาบาลที่ใช้บริการ อาชีพ และรายได้ มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงพยาบาลแตกต่างกันทั้งในภาพรวมและรายด้าน

Article Details

How to Cite
อินทรสิทธิ์ ท. (2019). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาลในเขตเทศบาลนครอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 1(6), 35–45. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3494
บท
บทความวิจัย

References

การเคหะแห่งชาติ. (2561). ข้อมูลประชากร 2561. กรุงเทพฯ: ฝ่ายวิชาการพัฒนาที่อยู่อาศัย การเคหะแห่งชาติ.

ณปภัช อัครกุลฤทธิ์, ธราทิพย์ ไตรสุวรรณ และ อิงครัตน์ พัชรเรืองกิตติ์. (2552). รายงานการวิจัยปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อความพึงพอใจในการเข้ารับบริการในโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิญญ์ชยานันต์ วัชรานันทกุล, ณัฐวุฒิ บุญศรี และดวงรัตน์ โกยกิจเจริญ. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางบทความวิจัยเสนอในการประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 2 “มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม” การตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการทางการแพทย์ ของโรงพยาบาลมิชชั่นภูเก็ต. (หน้า 901-914). สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

สมปอง ประดับมุข. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจด้านส่วนประสมการตลาดบริการ 7P’s ของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การตลาด) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Cronin, J. J., Brady, M. K., & Hult, G. T. M. (2000). Assessing the effects of quality, value, and customer satisfaction on consumer behavioral intentions in service environments. Journal of Retailing, 76(2), 193-218.

Kim, J., et al. (2008). Chemosensitization prevents tolerance of Aspergillus fumigatus to antimycotic drugs. Biochemical and Biophysical Research Communications, 372(1),266-271.

Kotler, P. (2003). Marketing Management. (11th ed).. U.S.A.: Prentice Hall.

Oyeniyi, O., and Joachim, A. A. (2008). Customer service in the retention of mobile phone users in Nigeria. African Journal of Business Management, 2(2), 26-31.

Woodside, A. G., Frey, L. L., & Daly, R. T. (1989). Linking service quality, customer satisfaction, and behavioral intention. Journal of Health Care Marketing, 9(4), 5 –17.

Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. (2nd Ed.). New York: Harper and Row.