การประเมินผลการดำเนินโครงการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์: กรณีศึกษา จังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

สมคิด นาพรม
ศักรินทร์ วังคะฮาต

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ กรณีศึกษา การส่งเสริมของเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดหนองบัวลำภู โดยทำการประเมิน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) ประเมินความรู้ที่เกษตรกรได้รับหลังจากการเข้าร่วมโครงการอบรมให้ความรู้ต่างๆ 2) ประเมินผลการนำปัจจัยการผลิตที่ได้รับจากโครงการฯ ไปใช้ในการผลิตสินค้าเกษตร ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) ประเมินผลลัพธ์เชิงประจักษ์ของโครงการฯ ได้แก่ การลดต้นทุนการผลิต และการลดภาระรายจ่ายด้านอาหารในครัวเรือนด้วยผลผลิตจากแปลงเกษตรอินทรีย์ ทดแทนการซื้อจากตลาดทั่วไป เครื่องมือที่ใช้ประเมินคือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิตเกษตรอินทรีย์จากจังหวัดหนองบัวลำภู ภายใต้โครงการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์วิถีหนองบัวลำภู ตามหลักเกษตรศาสตร์ - พระราชา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561-2562 ครอบคลุมพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอนากลาง อำเภอนาวัง อำเภอสุวรรณคูหา อำเภอโนนสัง และอำเภอศรีบุญเรือง ของจังหวัดหนองบัวลำภู โดยเก็บข้อมูลจากเกษตรกรในโครงการทั้งหมด 247 คน จาก 174 กลุ่ม การวิเคราะห์ประสิทธิผลของการดำเนินโครงการฯ ใช้สถิติ t-test ในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรที่เข้าอบรมในโครงการต่างๆ มีความรู้เพิ่มขึ้นหลังอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) เกษตรกรมีต้นทุนในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) เกษตรกรภายในโครงการฯ มีค่าใช้จ่ายด้านอาหารลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดหนองบัวลำภูต่อไป ได้แก่ การพัฒนาให้มีตราสินค้าเกษตรอินทรีย์ของจังหวัด และพัฒนาจุดจำหน่ายผลผลิตเกษตรอินทรีย์สำหรับเกษตรกรในโครงการ

Article Details

How to Cite
นาพรม ส., & วังคะฮาต ศ. (2019). การประเมินผลการดำเนินโครงการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์: กรณีศึกษา จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 1(6), 81–93. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3497
บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2564. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2562, จาก http://planning.dld.go.th/th/images/stories/section-5/2560/strategy11.pdf

ชาลิสา สุวรรณกิจ และกนกเนตร เปรมปรี. (2559) การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนระหว่างการปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์กับเกษตรเคมี. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2),519-526.

ณัชชา ลูกรักษ์, ดุสิต อธินุวัตน์ และธีระ สินเดชารักษ์. (2556). ปัญหาและอปุสรรคในการปรับเปลี่ยน เพื่อการผลิตพืชผักอินทรีย์ของเกษตรกรจังหวัดราชบุรี ที่ผ่านการอบรมโครงการพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์. Thai Journal of Science and Technology, 2(2), 125-133.

เบญจมาศ สันต์สวัสดิ์ และ ปภากร สุทธิภาศิลป์. (2562). การส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์์ ในชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ให้มีศักยภาพการแข่งขัน ในประชาคมอาเซียน. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 20(1), 20-29.

ปุรวิชญ์ พิทยาภินันท์ และอุไรวรรณ ทองแกมแก้ว. (2561). จากนาข้าวเคมีสู่นาข้าวอินทรีย์วิถีพอเพียง: การถอดบทเรียนจากแหล่งปลูกข้าวสังข์หยดดั้งเดิมในจังหวัดพัทลุง. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), 11(4), 64-74.

วรฉัตร วริวรรณ และ เบญจวรรณ บุญโทแสง. (2561). เกษตรกรอินทรีย์ภายใต้พื้นที่แห่งอำนาจของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในสังคมสมัยใหม่. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(1), 119-140.

สรธน ธิติสทุธิ และ พุฒิสรรค์ เครือคำ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการรับการส่งเสริมการปลูกผักอินทรีย์ของเกษตรกรในตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 36(3). 86-95.

สวรรค์ มณีโชติ และดุสิต อธินุวัฒน์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความความสาเร็จของเกษตรอินทรีย์ในชุมชนเกษตรกรรายย่อยจังหวัดนครสวรรค์. Thai Journal of Science and Technology, 8(6), 596-608.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2562, จาก https://www.nesdb.go.th/download/plan12/สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังแห่งชาติฉบับที่12.pdf

Chouichom, T. & Yamao, M. (2010). Comparing opinions and attitudes of organic and non-organic farmers towards organic rice farming system in north-eastern Thailand. Journal of Organic Systems, 5(1), 25-35.