สภาพปัญหาและความต้องการของประชาชน: กรณีศึกษาบ้านห้วยหมากหล่ำ ตำบลทมนางาม อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

เบญญาภา โสอุบล
วนิชย์ ไชยแสง
พีระนันท์ คำบอนพิทักษ์
อนาทินี จาปุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชน สภาพปัญหา และความต้องการของประชาชนบ้านห้วยหมากหล่ำ ตำบลทมนางาม อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลจากการศึกษาพบว่า 1. บริบทและสภาพแวดล้อมบ้านห้วยหมากหล่ำ อยู่ติดกับเชิงเขาซึ่งเป็นป่าสงวน มีลักษณะด้านกายภาพเป็นเนินหินติดเขา ทำให้มีสภาพพื้นที่มีที่ดินจำนวนจำกัดโดยใช้เป็นที่อยู่อาศัย และมีภาครัฐเป็นผู้จัดสรร มีอาชีพหลัก คือ การรับจ้างทั่วไปและรับจ้างทำเกษตร บางส่วนเดินทางไปรับจ้างตามหมู่บ้านใกล้เคียง ส่วนหนุ่มสาววัยแรงงานเดินทางไปรับจ้างที่กรุงเทพ 2. สภาพปัญหาของประชาชนบ้านห้วยหมากหล่ำ ยังขาดทักษะในการประกอบอาชีพที่ก่อให้เกิดความยั่งยืน รายได้หลักมาจากการรับจ้าง ไม่มีที่ทำกินเป็นของตัวเอง และขาดผู้นำในการรวมกลุ่มอาชีพ แต่ยังมีโครงการในพระราชดำริของรัชกาลที่ 9 จึงมีหน่วยงานภาครัฐเข้าไปส่งเสริมและพัฒนาให้กับชุมชน เช่น โครงการจัดเตรียมดิน การทำปุ๋ยอินทรีย์ และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน 3. ความต้องการของประชาชนบ้านห้วยหมากหล่ำ ต้องการเพิ่มทักษะในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม ต้องการแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการบริโภค เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำ และการขาดที่ดินทำกินที่เป็นของตัวเอง จึงต้องการให้หน่วยงานรัฐเข้าไปส่งเสริมอาชีพและจัดสรรที่ดิน รวมทั้งการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ให้กับชาวบ้านได้ประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
โสอุบล เ., ไชยแสง ว., คำบอนพิทักษ์ พ., & จาปุรี อ. (2020). สภาพปัญหาและความต้องการของประชาชน: กรณีศึกษาบ้านห้วยหมากหล่ำ ตำบลทมนางาม อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2(1), 69–80. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3534
บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2555). คู่มือพัฒนากรในการส่งเสริมชุมชนแห่งความเกื้อกูล. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

เครือข่ายวิชาการเพื่อการปฏิรูป. (2556). รายงานภาพรวมปัญหาที่ดินและแนวทางแก้ไข. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2562, จาก http://v-reform.org/v-report/

ทวีศักดิ์ นพเกษร. (2551). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เล่ม 1: คู่มือปฏิบัติการการวิจัยประยุกต์ เพื่อพัฒนาคน องค์กร ชุมชน สังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครราชสีมา: ชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย.

เบญจา ยอดดำเนิน-แอ็ตติกจ์ และกาญจนา ตั้งชลทิพย์. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ: การจัดการข้อมูล การตีความและการหาความหมาย. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปุรินทร์ นาคสิงห์, กังสดาล เชาว์วัฒนกุล, ชลิตา บัณฑุวงศ์ และ อังกูร หงส์คณานุเคราะห์. (2560). ชนบทที่เปลี่ยนผ่านและการปรับตัวในการด ารงชีพของเกษตรกร: กรณีศึกษา “ชุมชนเกษตรกรรม” ที่ จ.นครปฐม. วารสารวิจัยสังคม, 60(2), 77-106.

สุภางค์ จันทวานิช. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.