ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการเลือกหน่วยงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการเลือกหน่วยงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาที่ลงทะเบียนรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ปีการศึกษา 2561 จำนวน 580 ราย โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น ผลจากการวิจัยพบว่า แบบจำลองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจาก ค่าไค-สแควร์ () มีค่าเท่ากับ 34.38 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 28 P-value เท่ากับ 0.189 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.98 ค่ารากกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.020 และค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของเศษเหลือในรูปคะแนนมาตรฐาน (Standardized RMR) เท่ากับ 0.026 โดยความพึงพอใจในการเลือกหน่วยงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพได้รับอิทธิพลทางตรงจากปัจจัยคุณภาพการบริการเพื่อเตรียมความพร้อมในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
ฐิติวรดา แสงสว่าง และคณะ. (2551). ความคาดหวัง ความคิดเห็น และความพึงพอใจต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ธีรยุทธ แก้วเกร็ด. (2560). การตัดสินใจเลือกอาชีพของพนักงานองค์กรเอกชนในจังหวัดนครปฐม. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พัชรินทร์ ชุติพงศ์รุ่งโรจน์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าทำงานกับสำนักงานสอบบัญชีขนาดใหญ่ 4 แห่ง. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี คณะวิทยาการจัดการ. (2561). ความคาดหวัง ความคิดเห็น และความพึงพอใจต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ปีการศึกษา 2560. อุดรธานี: คณะกรรมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี คณะวิทยาการจัดการ. (2562). ความคาดหวัง ความคิดเห็น และความพึงพอใจต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ปีการศึกษา 2561. อุดรธานี: คณะกรรมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ระวีวรรณ วุฒิยศ. (2552). การพัฒนากระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพในวิทยาลัยการอาชีพเชียงคำ จังหวัดพะเยา. การศึกษาอิสระ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ศิริพร เจริญวิริยะกุล. (2559). การศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจเลือกสถานประกอบการในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี: คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สมิต สัชฌุกร. (2547). การต้อนรับและบริการที่เป็นเลิศ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สายธาร.
สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2551). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพมหานคร: มิสชั่น มีเดีย.
สุวิมล ติรกานันท์. (2555). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bitner, M. J. (1995). Building service relationships: It’s all about promises. Journal of the Academy of Marketing Science, Vol.23 (4), 246-251.
Koehler, J. W., & Pankowski, J. M. (1996). Quality Government: Designing, Developing, and Implementing TQM. Delray Beach, FL.: St. Lucie.
Kordupleski, R. E., Rust, R. T. and Zahorik, A. J. (1993). Why Improving Quality Doesn’t Improve Quality (Or Whatever Happened to Marketing?). California Management Review, Vol.35 (Spring), 82-95.
Kotler, P. (1997). Marketing management: analysis, planning implementation and control. 9th edition. New Jersey: Asimmon & Schuster.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. 2nd edition. New York: McGraw-Hall.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985). A conceptual model of service quality and its implications for future research. The Journal of Marketing, Vol.49 (Fall), 41-50.
Zeithaml, V. A., & Bitner, M. J. (1996). Service Marketing: Customer Focus Across the Firm. 2nd edition. Massachusetts: McGraw-Hill.