ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อผลประกอบการในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1

Main Article Content

ปริฉัตร วงศ์ปัจฉิม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อผลประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน1 ในทัศนะของผู้ประกอบการในรอบ 1 ปีและเฉลี่ยในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน1 จำนวน 400 ราย ในเขตจังหวัดอุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู เลย และบึงกาฬ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1)ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อผลประกอบการในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน1 ต่อผลประกอบการ 1 ปี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ต่อผลประกอบการ 5 ปีที่ผ่านมา อยู่ในระดับน้อย 2)ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลประกอบการมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับกลยุทธ์ 3)สมการพยากรณ์ผลประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคตตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน1 ต่อผลประกอบการ 1 ปี คือ สมการถดถอยในรูปคะแนนดิบ Y = 0.586+0.178(กลยุทธ์การพัฒนาประสิทธิภาพของพนักงาน)+0.165(กลยุทธ์การกระตุ้นยอดขาย)+0.161(กลยุทธ์การลดต้นทุนการผลิต)+ 0.171(กลยุทธ์การเข้าร่วม/รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z= 0.185(กลยุทธ์การพัฒนาประสิทธิภาพของพนักงาน)+0.155(กลยุทธ์การกระตุ้นยอดขาย)+0.162(กลยุทธ์การลดต้นทุนการผลิต)+0.145(กลยุทธ์การเข้าร่วม/รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ) สมการพยากรณ์ผลประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคตตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน1 ต่อผลประกอบการ 5 ปีที่ผ่านมา คือ สมการถดถอยในรูปคะแนนดิบ Y = 0.591+0.218(กลยุทธ์การเข้าร่วม/รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของ รัฐ)+0.180(กลยุทธ์การพัฒนาประสิทธิภาพของพนักงาน)+0.134(กลยุทธ์การเพิ่มความรู้และทักษะทางบัญชี)+ 0.110(กลยุทธ์การเข้าถึงลูกค้า) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z= 0.197(กลยุทธ์การเข้าร่วม/รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ)+0.158(กลยุทธ์การพัฒนาประสิทธิภาพของพนักงาน)+0.174(กลยุทธ์การเพิ่มความรู้และทักษะทางบัญชี)+0.191(กลยุทธ์การเข้าถึงลูกค้า)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา.(2556).การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย.พิมพ์ครั้งที่ 14.

กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ขนิษฐา พิริยะกุล และนฤมล กันธนาพา (2560). รูปแบบการประเมินประสิทธิภาพและความในการแข่งขันธุรกิจ.วารสารเกษมบัณฑิต, 17(1),1-21.

เจนจิรา ศรีกระจ่าง และสิริ สุกานดา(2559). กลยุทธ์สร้างความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานโรงพยาบาลเอกชนไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 11(1), 155-171.

ภัทราพร ลีละอองจุฑา และลิขิต วรวินชัย (2560).กลยุทธ์สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม SMEs เพื่อเข้าสู่ตลาด AEC.วารสารบริหาร, 32(4), 95-102.

ศักดิ์ชัย โชติวานิช (2014).การสร้างความพึงพอใจในคุณภาพและการบริการของการบริการเต็มรูปแบบเที่ยวบินภายในประเทศไทย.วารสารศิลปะนานาชาติและวิทยาศาสตร์ 7(3),161-169.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ.(2562). สำนักงานสถิติจังหวัดในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน1สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2562 จาก http://udon.nso.go.th/index.php?option=com_wrapper&view=wrapper&itemid=506

สำนักงานประชาสัมพันธ์ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2561).แนวโน้มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยในปี 2557 และปี 2561. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562 จาก http://www.sme.go.th/th/index.php/data-aleart/report-smes-year/report-year

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychology testing (5thed.). New York: Harper Collins Publishers lnc.

Field, A. (2012). Discovering statistics using SPSS: (and Sex and Drugs and Rock’n’roll). Los Angeles: SAGE.

Kaewkumkong, A. (2015). Opportunities and market channels of Thai SMEs in Cambodia. Journal of Mekong Societies, 8(1),95-113.

Nanakorn, et al. (2016).Trade and investment Performance development of SMEs operations in Bangkok in the ASEAN economic community context. Rajapark Journal, 10(19), 124-136.

Porter, M. E. (2008). On competition. Boston:Harvard Business School Press.

Rifai, M., indrihastuti, P., Sayekti, R. N. S. and Gunawan, C. I. (2016).Competitive readiness from Indonesia’s Small and Medium Industry (SMEs) in dealing with ASEAN economic community. International Journal of Advanced Research, 4(4),52-59.