การออกแบบตราสัญลักษณ์และบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาร้าสับของวิสาหกิจชุมชนหมูสวรรค์หมูไทยศรีโยธิน จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

ชญาน์นันท์ ศิริกิจเสถียร
อนุศักดิ์ ธัชยะพงษ์
ประพัสสร บัวเผื่อน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการออกแบบตราสัญลักษณ์ พัฒนาบรรจุภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่ายของผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาร้าสับ 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อตราสัญลักษณ์และบรรจุภัณฑ์ของน้ำพริกปลาร้าสับ และ 3) ศึกษาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหมูสวรรค์หมูไทยศรีโยธิน โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประธานและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 12 คน และผู้บริโภคที่ซื้อผลิตภัณฑ์ จำนวน 100 คน จากกลุ่มตัวอย่างกรณีที่ไม่ทราบขนาดของประชากรที่แน่นอน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือวิจัยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่ม การระดมสมอง แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า การออกแบบตราสัญลักษณ์ และแบบบรรจุภัณฑ์ที่ดีช่วยให้ผลิตภัณฑ์โดดเด่น สร้างการจดจำต่อสินค้า ช่องทางการจัดจำหน่ายผ่าน Facebook ช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงผู้บริโภคได้กว้างขึ้นทำให้ยอดขายสินค้าเพิ่มขึ้น และความพึงพอใจบรรจุภัณฑ์น้ำพริกปลาร้าสับในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.18, S.D.= 0.64)

Article Details

How to Cite
ศิริกิจเสถียร ช., ธัชยะพงษ์ อ., & บัวเผื่อน ป. (2020). การออกแบบตราสัญลักษณ์และบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาร้าสับของวิสาหกิจชุมชนหมูสวรรค์หมูไทยศรีโยธิน จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2(2), 53–63. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3538
บท
บทความวิจัย

References

กฤษณะ ดาราเรือง. (2560). การพัฒนาตราผลิตภัณฑ์ และกลยุทธ์ทางการตลาดวิสาหกิจชุมชนบ้านเขาแหลม จังหวัดนครสวรรค์. วารสารสุทธิปริทัศน์, 31(100), 130-143

นันทิยา ดอนเกิด และอรอนงค์ ศรีพวาทกุล. (2561). การออกแบบตราสัญลักษณ์สำหรับไอศกรีมตามธาตุเจ้าเรือน. การประชุมวิชาการและวิจัยแห่งชาติและนานาชาติครั้งที่ 5. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

บุรินทร์ เปล่งดีสกุล และภาคินี เปล่งดีสกุล. (2561). การพัฒนาตราสัญลักษณ์ของสินค้าและของที่ระลึกจังหวัดสระแก้ว. วารสารวิชาการ สถาบันการพลศึกษา, 10(2), 119-131.

ประชิด ทิณบุตร, ธีระชัย สุขสวัสดิ์ และอดิสรณ์ สมนึกแท่น. (2559). การออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(1), 84-94.

มนันยา นันทสาร และคณะ. (2556). การถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับปลาร้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาร้า บ้านหนองล่าม อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ศศิกาญจน์ หมอกมีชัย และสิทธเดช หมอกมีชัย. (2558). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาร้า ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานสู่ผลิตภัณฑ์แปรรูปเชิงพาณิชย์. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 3. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

สุวนาถ ทองสองยอด และภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา. (2561). แนวทางการพัฒนาช่องทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ตำบลบานา จังหวัดปัตตานี. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 13(1), 14-28.

เสกสรร วินยางค์กูล ผดุงเกียรติ คำแก้ว คงศักดิ์ คำดี ขวัญเรือน สินณรงค์ ประเวช อนันเอื้อ และคณะ. (2561). การออกแบบและพัฒนาระบบบรรจุภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์พริกแกงแม่เกศ ของตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. การประชุมวิชาการระดับนานาชาติและระดับชาติ ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 5. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

โสภาพร กล่ำสกุล, จริยา รัชตโสตถิ์ และคงขวัญ ศรีสอาด. (2561). การพัฒนาอัตลักษณ์ชุมชนหนุนเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ตำบลสมอพลือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรีสู่การจัดสวัสดิการชุมชนอย่างยั่งยืน. การประชุมวิชาการระดับนานาชาติและระดับชาติ ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 5. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

อมรรัตน์ บุญสว่าง. (2559). การออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมสินค้าอาหารเอกลักษณ์ของจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารบริหารเทคโนโลยีมหานคร, 13(2), 33-60.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques, 3rd Ed., New York: John Wiley and Sons, Inc.