ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดหนี้นอกระบบของเกษตรกร อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อหนี้นอกระบบของเกษตรกรในอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา โดยคณะผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย ซึ่งได้ทำการเก็บรวบรวมแบบสอบถามจากเกษตรกรจำนวน 374 คน ด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก สำหรับสถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลวิจัยจากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ เพื่อค้นหาปัจจัยที่มีผลต่อหนี้นอกระบบของเกษตรกรจะสามารถสรุปได้ดังนี้ 1) อายุ และจำนวนสมาชิกในครัวเรือน มีผลต่อหนี้นอกระบบ 2) รายได้จากการเกษตร รายได้นอกการเกษตร ค่าใช้จ่ายทางการเกษตร มีผลต่อหนี้นอกระบบ 3) สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน บุคคลภายในครัวเรือน บุคคลภายนอกครัวเรือน และการพัฒนาด้านเทคโนโลยีทางการเกษตร มีผลต่อหนี้นอกระบบ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2561). จำนวนเกษตรกรในอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2562, จาก https://www.doae.go.th/index.php
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS. กรุงเทพฯ: สามลดา.
ชฎาภรณ์ ณ นคร. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้นอกระบบในครัวเรือนของประชากรในเขตเทศบาลเมืองปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ฐานิตา มีลา. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นหนี้นอกระบบของชาวนา ในเขตอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณัชพงษ์ สำราญ. (2560). มาตรการทางกฎหมายในการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน: ศึกษากรณีหนี้นอกระบบ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 37(1), 91- 101.
ธีรวีร์ วราธรไพบูลย์. (2557). พฤติกรรมการบริโภค: อาหารนิยมบริโภคกับอาหารเพื่อสุขภาพ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(2), 255- 264.
ปิยะลักษณ์ พุทธวงศ์, ศศิเพ็ญ พวงสายใจ, ไพรัช กาญจนการุณ, วรลักษณ์ หิมะกลัส, สุชาติ พรหมขัติแก้ว, สุขุม พันธุ์ณรงค์ และ พิมลพรรณ บุญยะเสนา. (2559). หนี้นอกระบบ: ปัญหาและแนวทางแก้ไขภายใต้แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 20(1), 1- 22.
แพทรียา หงสุวรรณ์ และ ปิยะพงษ์ บุษบงก์. (2561). กระบวนการจัดการธุรกิจเงินกู้นอกระบบในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารช่อพะยอม, 29(1), 173- 184.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). ข้อมูลทางการเงินของภาคการเกษตร. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2562, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014en
อุษา อมรรัชยาวิจารณ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้นอกระบบของประชาชน ในอำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 9(1), 62-73.
Caudell, M., Rotolo, T., & Grima, M. (2015). Informal Lending Networks in Rural Ethiopia. Social Networks, 40(January), 34- 42.
Islam, A., Nguyen, C., & Smyth, R. (2015). Does Microfinance Change Informal Lending in Village Economies? Evidence from Bangladesh. Journal of Banking & Finance, 50(January), 141-156.
Krejcie, V. R., & Morgan, W. D. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607- 610.
Madestam, A. (2014). Informal Finance: A Theory of Moneylenders. Journal of Development Economics, 107(March), 157-174.
Pham, T.T, & Lensink, R. (2007). Lending Policies of Informal, Formal and Semiformal Lenders: Evidence from Vietnam. Economics of Transition, 15(2), 181- 209.