นวัตกรรมทางการบัญชีสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการอยู่รอดขององค์กร: กรณีศึกษาของธุรกิจที่ได้รับการรับรอง ISO 14001 ในประเทศไทย

Main Article Content

อัญชลีพร ใสสุทธิ์
ณัฐนันท์ ฐิติยาปราโมทย์
สุขเกษม ลางคุลเสน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบของนวัตกรรมทางการบัญชีสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการอยู่รอดขององค์กรในธุรกิจที่ได้การรับรอง ISO 14001 ในประเทศไทย แบบสอบถามถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มธุรกิจที่ได้รับการรับรอง ISO 14001 ในประเทศไทย จำนวน 119 บริษัท สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และทดสอบผลกระทบด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า มิติของนวัตกรรมทางการบัญชีสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การปฏิบัติทางการบัญชีสิ่งแวดล้อมสมัยใหม่ การใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และการเปิดเผยข้อมูลแบบบูรณาการ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกต่อการอยู่รอดขององค์กรโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แต่เทคนิคการคำนวณต้นทุนสิ่งแวดล้อมแบบใหม่ และการประเมินผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการต่อยอด ไม่ส่งผลต่อการอยู่รอดขององค์กรโดยรวม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทัศนีย์ ธนอนันต์ระกูล. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาการบัญชีสิ่งแวดล้อมความรับผิดชอบต่อสังคมและภาพลักษณ์องค์กรของธุรกิจกระดาษในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นงลักษณ์ จิ๋วจู และ ทิพย์วรรณ ศิบุญนันท์. (2562). การศึกษาผลกระทบและการจัดทำบัญชี สิ่งแวดล้อมเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา: ธุรกิจโรงสีข้าวในจังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

นภดล ร่มโพธิ์. (2551). สุดยอดบริษัทนวัตกรรมของโลก. วารสารบริหารธุรกิจ, 31(120), 6-7.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่). พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปราณี หลำเบ็ญสะ. (2559). การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผลโครงสร้างการบริหารวิชาการ. ใน การประชุมทางวิชาการโครงการบริการวิชาการท่าสาบโมเดล, หน้า 2-3. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

พิริยาภรณ์ อันทอง และ ศุภกร เอกชัยไพบูรณ์. (2559). Checklist พิชิตธุรกิจยั่งยืน ฉบับ SME. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

มาลินี สายก้อน และ ณัฐนันท์ ฐิติยาปราโมทย์. (2560). ผลกระทบความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจที่มีต่อการเปิดเผยข้อมูลบัญชีสิ่งแวดล้อมของกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตที่ได้การรับรอง ISO 14001 ในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ, 12(2), 78-103.

วรรณวิไล ปัญญาวิชา. (2560). ความสัมพันธ์ของการเปิดเผยข้อมูลทางด้านบัญชีสิ่งแวดล้อมกับความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ศศิประภา ชัยประสิทธิ. (2553). “องค์กรแห่งนวัตกรรม” ทางเลือกของผู้ประกอบการยุคใหม่. วารสารนักบริหาร, 30(2), 60-69.

ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2552). การบัญชีสิ่งแวดล้อม. วารสารวิชาชีพบัญชี, 5(12), 21-24.

ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2560). การบัญชีตามความรับผิดชอบต่อสังคม. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 6(1), 25-32.

สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ. (2559). ข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองระบบการบริหารจัดการ. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2560, จาก https://www.masci.or.th/wp-content/uploads/2016/01/13_R-501_Rev2.pdf

สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ. (2560). ผู้ได้รับการรับรอง. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2560, จาก http://masci.or.th/service/ผู้ได้รับการรับรอง

อนันตชัย ยูรประถม, จรัสวรรณ กิตติสุนทรากุล, วิชญ์พล บัญชาวชิระชัย, เสาวพร วิทยะถาวร, นรีรัตน์ สันธยาติ และ จิวัสสา ติปยานนท์. (2557). ไขความหมาย การพัฒนาอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: วนิดาการพิมพ์.

Aaker, D. A., Kumar, V., & Day, G. S. (2001). Marketing Research. (7th ed.). New York: John Wiley and Son.

Black, K. (2006). Business Statistic for Contemporary Decision Making. (4th ed.). USA: John Wiley & Son.

Koschate, N., & Gartner, S. (2015). Brand trust: Scale development and validation. Schmalenbach Business Review, 67(2), 171-195.

Yamane, Y. (1967). Statistice; An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row.