ผลกระทบของโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่มีต่อผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

จักรกฤษณ์ มะโหฬาร
สุมาลี นามโชติ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่ส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์จากงบการเงิน และแบบ 56-1 ของบริษัทที่มีอยู่ในดัชนี SET100 ระหว่างปี 2557 - 2561 จำนวนทั้งสิ้น 28 บริษัท วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า สัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนไทย (ST) และสัดส่วนการถือหุ้นของผู้บริหารต่างชาติ (MGF) ส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่สัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ (SF) และสัดส่วนการถือหุ้นของผู้บริหารไทย (MGTH) ไม่ส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น

Article Details

How to Cite
มะโหฬาร จ., & นามโชติ ส. (2020). ผลกระทบของโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่มีต่อผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2(3), 43–54. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3543
บท
บทความวิจัย

References

จิตอุษา ขันทอง และ กัลยกิตต์ กีรติอังกูร. (2560). การกำกับดูแลกิจการและผลการดำเนินงาน ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ ศรีนครินทรวิโรฒ, 8(2), 42-54.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2562). สรุปสถิติสำคัญของตลาดหลักทรัพย์. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562, จาก https://www.set.or.th/th/market/market_statistics.html

นริสา เยาวลักษณ์ และ ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2558). การถือหุ้นของบุคคลภายในและนักลงทุนสถาบันต่อผลการดำเนินงานและผลตอบแทนจากหลักทรัพย์. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 4(2), 18-31.

นวพร พงษ์ตัณฑกุล. (2546). โครงสร้างการเป็นเจ้าของและคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิพัฒน์ โพธิ์วิจิตร. (2554). ผลกระทบของโครงสร้างผู้ถือหุ้น คณะกรรมการ และคณะกรรมการตรวจสอบที่มีผลต่อการบริหารกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ดุษฏีนิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ภัทรา เตชะธนเศรษฐ์, อรวรรณ เชื้อเมืองพาน และ พรชัย เตชะธนเศรษฐ์. (2561). โครงสร้างผู้ถือหุ้น ผลการประเมินการกับกับดูแลกิจการ ผลการประเมินความยั่งยืน ที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 38(5), 99-118.

รัตนะ บัวสนธ์. (2551). การสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยเกี่ยวกับธรรมาภิบาล ของมหาวิทยาลัยของรัฐและหน่วยราชการอื่นของไทย. พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

วรศักดิ์ ทุมมานนท์. (2549). มิติใหม่ของงบการเงินและการวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: ธรรมนิติเพรส.

วราภรณ์ วิบูลคณารักษ์. (2558). เจาะลึกวิเคราะห์หุ้นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562, จาก http://www.set.or.th/dat/vdoArticle/attachFile/AttachFile_1450949089751.pdf.

อุทัยวรรณ เสมอจิตร และ สุภาวดี สุขีชีพ มอสส์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างผู้ถือหุ้นกับต้นทุนเงินทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารรังสิตบัณฑิตในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 5(2), 103-114.

Al, F. O., Buachoom, W., & Sun, L. (2019). Board, audit committee, ownership andfinancial performance – emerging trends from Thailand, Pacific Accounting Review, 32(1), 54-81.

Chidambaran, N. K., Palia, D., & Zheng, Y. (2006). Does better corporate governance “Cause” better firm performance. Retrieved June 25, 2020, from http://media.terry.uga.edu/documents/finance/palia.pdf

Fama, E. F., & Jensen, M. C. (1983). Separation of Ownership and Control. Journal of Law and Economics, 26(2), 301-325.

Hinkle, D. E. (1998). Applied Statistics for the Behavioral Sciences. Boston: Houghton Mifflin.

Kevin, C. (2002). Ownership structure and the operating performance of Hungarian firms. Retrieved September 25, 2019, from https://pdfs.semanticscholar.org/91e7/21212211e659fc99a4456158e316918e70df.pdf?_ga=2.20040952.1729335599.1590844210-811440126.1590844210

Morck, R., Shleifer, A., & Vishny, R. W. (1988). Management Ownership and Market Valuation. Journal of Financial Economics, 39(20), 293– 315.

Pongpanpatana, J. (2015). Mechanism of good governance and firm performance: an empirical evidence from Thai-Listed Firms. Journal of Modern Management Science, 8(1), 67-77.

Qi, D., Wu, W., & Zhang, H. (2000). Shareholdings structure and corporates performance of partially privatized firms: Evidence from listed Chinese companies. Pacific basic finance journal, 8(5), 587-610.

Rashid, M. M. (2020). Ownership structure and firm performance: the mediating role of board characteristics, Corporate Governance, 20(4), 719-737.

Sraer, D., & Thesmar, D. (2007). Performance and Behavior of Family Firms: Evidence from the France Stock Market. Journal of the European Economic Association, 5(4), 709-751.

Zhou, C. (2019). Effects of ownership structure on the relationship between multinationality and downside risk: Evidence from China. Cross Cultural & Strategic Management, 26(3), 401-421.