SOCIAL ACTIVITIES OF THAI LISTED COMPANIES

Main Article Content

สุมินทร เบ้าธรรม
โสภิดา สัมปัตติกร
ฐานิตย์ เกษร
ชนันทร สวนดอกไม้
ธนพิมพ์ ชุมกาแสง
รุ่งทิวา เหระวัน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมเพื่อสังคมของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยปี พ.ศ. 2561 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสำรวจด้วยตนเอง จำนวนทั้งสิ้น 780 บริษัท โดยจำแนกเป็นกลุ่มตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Stock Exchange of Thailand: SET) และกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (Market Alternative Investment: MAI) ผลการศึกษาพบว่า จากจำนวน 622 บริษัท ในตลาด SET มีการเปิดเผยข้อมูลกิจกรรมเพื่อสังคม จำนวน 1,774 กิจกรรม และพบว่าในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมในด้านคุณภาพชีวิตและสังคมมากที่สุด รองลงมาคือด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการศึกษา ตามลำดับ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีกิจกรรมด้านความดี มีเพียง 3 กลุ่มอุตสาหกรรมเท่านั้น ได้แก่ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค กลุ่มธุรกิจการเงิน และกลุ่มบริการ นอกจากนี้ ยังพบว่า จากจำนวน 158 บริษัท ในตลาด MAI มีการเปิดเผยข้อมูลกิจกรรมเพื่อสังคม จำนวน 469 กิจกรรม และพบว่าในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมในด้านคุณภาพชีวิตและสังคมมากที่สุด รองลงมาคือด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการศึกษา ตามลำดับเช่นกัน ทั้งนี้ บริษัทในตลาด MAI ยังไม่มีการดำเนินกิจกรรมด้านความดี สารสนเทศที่ได้เป็นข้อมูลสำหรับนักลงทุน ในการพิจารณาประกอบตัดสินใจลงทุนในบริษัทที่คำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือการเลือกคู่ค้าที่มีความรับผิดชอบในเรื่องดังกล่าวนอกเหนือจากเรื่องบรรษัทภิบาล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐสุภรณ์ เตียวเพชรภัสกร และ ประเวศ อินทองปาน. (2560). แนวคิดจริยศาสตร์: บทสังเคราะห์เพื่อสนับสนุนแนวคิดซีเอสอาร์. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 13 (ฉบับพิเศษ เล่ม 1), 197-209.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2562ก). รายชื่อบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2562, จาก https://www.set.or.th/set/commonslookup.do?language=th&country=TH.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2562ข). กิจกรรมเพื่อสังคม. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2562, จาก https://www.set.or.th/set/archiveActivity.do

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2562ค). แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1). สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2562, จาก https://market.sec.or.th/public/idisc/th/Viewmore/fsr561?uniqueIDReference=0000001119&searchSymbol=TU

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2563). ความรับผิดชอบต่อสังคม. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2563, จาก https://www.set.or.th/th/news/csr/csr_p1.html

นภัทร คล้ายคลึง และ เสาวนีย์ สมันต์ตรีพร. (2557). ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) และความพึงพอใจของลูกค้า ที่มีผลต่อการจงรักภักดีในสายการบินนกแอร์. รยมสาร, 12(1), 93-101.

พิพัฒน์ ยอดพฤติการ. (2553). ตั้งไข่ให้ CSR. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2563, จาก https://www.nha.co.th/assets/portals/1/news/14250/1.pdf

ศิริรัตน์ พรหมดวงตา. (2559). รูปแบบกิจกรรมเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Carroll, B. A., & Buchholtz, K. A. (2006). Business and Society: Ethics and Stakeholder Management. (6th Ed.). Australia: South-Western.

Chapple, W., & Moon, J. (2005). Corporate Social Responsibility (CSR) in Asia: A seven country study of CSR website reporting. Business & Society, 44(4), 415-441.

Davis, K., & Blomstrom, L. R. (1975). Business and Society: Environment and Responsibility. (3th Ed.). New York: McGraw-Hill.

McGuire, J. W. (1963). Business and society. New York: McGraw-Hill.

Welford, R. (2005). Corporate Social Responsibility in Europe, North America and Asia: 2004 Survey Result. Journal of Corporate Citizenship, 17(1), 33-52.

Wynne, R. A. (2007). Perceptions and Practices of Corporate Social Responsibility in the Thai Context: Insights from the Experiences of Thai Managers at Six Major Firms. London: University of London.