แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการอธิบายบทความวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารวิชาชีพบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2552-2561

Main Article Content

สุมินทร เบ้าธรรม
ดวงฤดี อมรภิญโญ
เกษสิณี เพรงมา
วัชราภรณ์ อักษรจรรยา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจแนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการอธิบายบทความวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารวิชาชีพบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ถึง พ.ศ. 2561 รวมทั้งสิ้น 143 บทความวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสำรวจรายการด้วยตนเอง ผลการศึกษาพบว่า มีแนวคิดจำนวน 40 แนวคิด และมีทฤษฎีจำนวน 44 ทฤษฎี ที่ถูกนำไปใช้ในการอธิบายบทความวิจัยในวารสารวิชาชีพบัญชี โดยแนวคิดที่ถูกนำไปใช้ในการอธิบายบทความวิจัยมากที่สุด ได้แก่ แนวคิดการตกแต่งกำไรและแนวคิดเสถียรภาพของกำไร รองลงมาคือ แนวคิดความระมัดระวังทางบัญชีและความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ ส่วนทฤษฎีที่ถูกนำไปใช้ในการอธิบายบทความวิจัยมากที่สุดคือ ทฤษฎีตัวแทน รองลงมาคือ ทฤษฎีผู้มีส่วนได้เสีย และทฤษฎีความคาดหวัง สารสนเทศที่ได้จากงานวิจัยนี้ เป็นการยืนยันแนวคิดและทฤษฎีที่ยังคงอยู่และถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในวารสารวิชาการชั้นนำของประเทศ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงไกร บุญเลิศอุทัย และ อนุวัฒน์ ภักดี. (2561). คุณลักษณะของคณะกรรมการ ความระมัดระวังทางบัญชีและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.วารสารวิชาชีพบัญชี, 14(43), 27-47.

ฐิติวรดา แสงสว่าง, สุมินทร เบ้าธรรม, กนกกาญจน์ วิชาศิลป์, ดวงฤดี อู๋, กุลสตรี บุนนท์ และ ปวีณา ดวงดาว. (2562). แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการอธิบายบทความวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 4(2), 53-72.

ธกานต์ ชาติวงค์. (2560). ทฤษฎีที่ใช้อธิบายงานวิจัยทางบัญชี: จากอดีตถึงอนาคต. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมป์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 6(2), 189-198.

บูรณภพ สมเศรษฐ์, ภิรายุ แสนบุดดา และ มนวิกา ผดุงสิทธิ์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดขององค์กร ความรับผิดชอบทางสังคม และผลการดำเนินงานด้านการเงิน. วารสารวิชาชีพบัญชี, 9(24), 37-58.

พรพรรณ ดำรงค์สุขนิวัฒน์ และ ปัญญา อิสระวรวาณิช. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของกิจการกับการตกต่างกำไรของกิจการในอุตสาหกรรมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์: หลักฐานเชิงประจักษ์จากประเทศไทย. วารสารวิชาชีพบัญชี, 9(26), 61-73.

วารสารวิชาชีพบัญชี. (2562). รายชื่อบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาชีพบัญชี. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2562, จาก: http://www.jap.tbs.tu.ac.th/index.php?page=Article-List.

ศจีรัตน์ เมธีสุวภาพ. (2561). ก้าวต่อไปของสำนักงานบัญชีไทยในยุคแห่ง AEC. วารสารวิชาชีพบัญชี, 14(44), 77-87.

สัญญา เคณาภูมิ. (2558). การสร้างกรอบแนวคิดการวิจัยโดยใช้ทฤษฎีจากฐานราก. วารสารวิจัยและพัฒนา, 8(3), 93-103.

Aqueveque, C., and Ravasi, D. (2006). Corporate Reputation, Affect and Trustworthiness: An Explanation for the Reputation-Performance Relationship. Milan, Italy: University Commercial Luigi Bocconi.

Ayres, F. L., and Hethcox, K. B. (1994). Accuracy Differences as a Function of Preparer Status: An Analysis of Money’s Tax Test. Financial Counseling and Planning, Vol.5, 117-126.

Barnard, C. L. (1983). Functions of the Executive. Cambridge, MA: Harvard University.

Carroll, A. B. (1991). The Pyramid of Corporate Social Responsibility: Toward the Moral Management of Organizational Stakeholders. Business Horizons, 34(4), 39–48.

Carroll, A. B., and Shabana, K. M. (2010). The Business Case for Corporate Social Responsibility: A Review of Concepts, Research and Practice. International Journal of Management Reviews, 12(1), 85–105.

Healy, P. M., and Wahlen, J. M. (1999). A Review of Earnings Management Literature and Its Implications for Standard Setting. Accounting Horizons, 13(4), 365-383.

Jensen, M. C., and Meckling, W. H. (1976). Theory of the Firm: Management Behavior, Agency Costs and Ownership Structure. Journal of Financial Economics, 3(4), 305-360.

Watt, R. L., and Zimmerman, J. L. (1986). Positive Accounting Theory. London: Prentice-Hall.