การปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดเก็บวัตถุดิบ กรณีศึกษาบริษัทอาเจไทย จำกัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อลดระยะเวลาในการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บวัตถุดิบของกรณีศึกษาบริษัทอาเจไทยจำกัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ การเก็บรวบรวมข้อมูล กระบวนทำงาน ข้อมูลการใช้วัตถุดิบ ทั้งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ศึกษาปัญหาและสาเหตุของปัญหาโดยใช้แผนผังสาเหตุและผล ออกแบบกระบวนการทำงานใหม่โดยใช้หลักการ 5ส การควบคุมด้วยการมองเห็น คัมบัง กลยุทธ์ในการจัดเก็บและทฤษฎีของการจัดการคลังสินค้า การวิจัยพบว่าการดำเนินการปรับปรุงโดยการนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ทำให้สามารถลดระยะเวลาในการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ จากกระบวนการจัดเก็บวัตถุดิบดังนี้ การเตรียมพื้นที่จัดเก็บ 18.60 นาที (คิดเป็น 60.20%), การรับวัตถุดิบ 18.50 นาที (คิดเป็น 50.27%), การจ่ายวัตถุดิบ 20.10 นาที (คิดเป็น 94.36%), และสามารถลดระยะเวลารวมของทุกกระบวนการการจัดเก็บ 57.20 นาที (คิดเป็น 60.30%) และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บวัตถุดิบโดยปรับปรุงกระบวนการให้การจัดเก็บเป็นระบบ เพิ่มความเป็นระเบียบเรียบร้อยในพื้นที่ทำงานและเพิ่มความรวดเร็วในกระบวนการจัดเก็บวัตถุดิบ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
กฤชชัย อนรรฆมณี. (2548). “Kaizen” แนวคิดนี้ ไม่เก่าเลย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยบูรพา, 17, 1-4.
ประชาสรรณ์ แสนภักดี.(2547). ผังก้างปลากับแผนภูมิความคิด. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2564, จาก http://www.prachasan.com/mindmapknowledge/fishbonemm.htm.
วิทยา อินทร์สอน. (2552). การควบคุมด้วยการมองเห็น เพื่อช่วยเพิ่มผลิตภาพ (Visual Control for Productivity). สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2564, จาก http://www.thailandindustry.com/onlinemag/view2.php?id=221§ion=4&issues=13.
สุนันทา ศิริเจริญวัตน์. (2555). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัทภูมิไทย คอมชีส จำกัด. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
อดิศักดิ์ ธีรานุพัฒนา. (2561). 5ส: หลักการและวิธีปฏิบัติ 5S: Principles & Practice. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรณิชา อนุชิตชาญชัย. (2554). การปรับปรุงคลังสินค้าและระบบจัดเก็บ กรณีศึกษา: ผู้ให้บริการคลังสินค้า. ใน การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหกรรม ประจำปี 2554, 20-21 ตุลาคม 2554. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.
Bicheno, J., & Holweg, M. (2009). The Lean toolbox: the essential guide to Lean transformation. (4th ed.). Picsie Books.
Hirano, H. (1995). 5 Pillars of the Visual Workplace: The Sourcebook for 5S Implementation. Productivity Press.
Kris Piroj. (2020). Kanban คืออะไร? ระบบคัมบัง แบบเข้าใจง่ายๆ. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2564, จาก https://greedisgoods.com/kanban-คือ/#how-kanban-work.
Liker, J. K. (2020). The Toyota Way: 14 Management Principles from the World's Greatest Manufacturer. (2nd ed.). McGraw-Hill Education.
Richards, G. (2018). Warehouse Management: A Complete Guide to Improving Efficiency and Minimizing Costs in the Modern Warehouse. (2nd ed.). Kogan Page.