กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อ รองเท้าฟุตซอลของนักกีฬาฟุตซอลในจังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

ยศพนธ์ เกิดไกรชัยวัฒน์
อาภรณีน์ อินฟ้าแสง
ดวงตา สราญรมย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำคัญของกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด ของนักฟุตซอล 2) ศึกษาความสำคัญของกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อรองเท้าฟุตซอลของนักฟุตซอล และ 3) ทดสอบกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด ที่มีอิทธิผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อรองเท้าฟุตซอลของนักฟุตซอล กลุ่มตัวอย่างคือ นักกีฬาฟุตซอล ในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 203 คน การสุ่มตัวอย่างจะใช้วิธีการแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression Analysis) ตามวิธีการ Least Significant Difference (LSD) ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด กระบวนการตัดสินใจซื้อรองเท้าฟุตซอล ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดมีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อรองเท้าฟุตซอลของนักกีฬาฟุตซอล โดยมีรูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า F เท่ากับ 164.78 และพิจารณาจากค่า Adjusted R2 เท่ากับ 0.76 แสดงว่าตัวแปรอิสระร่วมกันอภิปรายผลการตัดสินใจซื้อซื้อรองเท้าฟุตซอล ของนักกีฬาฟุตซอล ในจังหวัดนนทบุรี ได้ร้อยละ 76.00

Article Details

How to Cite
เกิดไกรชัยวัฒน์ ย., อินฟ้าแสง อ., & สราญรมย์ ด. (2024). กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อ รองเท้าฟุตซอลของนักกีฬาฟุตซอลในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 6(2), 41–52. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3690
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2544). หลักสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จาตุรนต์ ลิ่มหัน. (2561). แรงจูงใจในการตัดสินใจเล่นกีฬาฟุตซอลอาชีพ. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จอมพล ศรีสุข. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรองเท้ากีฬายี่ห้อไนกี้ (NIKE) ของผู้บริโภคที่เป็นนักกีฬาบาสเกตบอลในระดับมหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

ชมรมกีฬาฟุตซอล จังหวัดนนทบุรี. (2565). จำนวนนักกีฬาฟุตซอล. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2565. จาก www.localgymsandfitness.com/TH/นนทบุรี.

ทัตพิชา สกุลกิตติยุต. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรองเท้ากีฬาอดิดาส (ADIDAS) ของผู้บริโภคที่เป็นนักกีฬาที่อาศัยในการกีฬาแห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

ปฏิภาณ มั่นกสิกรณ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อรองเท้ากีฬาประเภทรองเท้าวิ่ง. ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 วันที่ 1 เมษายน 2564.

พัชราพรรณ ชอบธรรม. (2562). การวางแผนกลยุทธ์: เครื่องมือสู่ความสำเร็จขององค์การ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(2). 54-74.

เพ็ญนิภา พูลสวัสดิ์. (2562). การศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อรองเท้ากีฬาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และนันทนาการ. 45(1).

วรรณภรณ์ สินาเจริญ (2558) .พฤติกรรมทั่วไปในการตัดสินใจซื้อรองเท้ากีฬาอาดิดาส (Adidas) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศันสนีย์ บุญยง. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรองเท้ากีฬาของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สรัญญา ภูคงคา. (2560). กระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อรองเท้าวิ่งของประชากรในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุดารัตน์ กันตะบุตร. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการซื้อสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในจังหวัดนครราชสีมา. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

สำนักงานวิจัยและวางแผน บจม. ธนาคารกรุงไทย. (2562). รายงานวิจัยสงครามธุรกิจรองเท้ากีฬาในประเทศ. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565, จาก http://www.kasikornthai.net/blog/print.php?id289490.

หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ. (2564). คอลัมน์ “ทำไมผู้ผลิตรองเท้าเดินหน้าสู่ความยั่งยืนอย่างเต็มที่”. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/columnist/128078.

Borden, N.H. (1964). The Concept of the Marketing Mix. Journal of Advertising Research, 4, 2-7.

Jonathan Beverly. (2563). Gear Up With the Right Running Shoes. Retrieved November 15, 2022, from https://www.runnersworld.com/gear/a20842305/how-to-buy-the-right-running-shoes.

Likert, Rensis A. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill.

Lauterborn, B. (1990). Advertising Age. Crain Communications.

Ramsey CA, Lamb P and Ribeiro DC. (2022). Factors Influencing Runner's Choices of Footwear. Front. Sports Act. Living 4:829514. doi: 10.3389/fspor.2022.829514.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York: Harper and Row.