คตินิยมของธุรกิจและสินค้าเกี่ยวกับวัตถุมงคลของแหล่งท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ กรณีศึกษา: วิหารหลวงพ่อสำเร็จศักดิ์สิทธิ์ จังหวัดสระบุรี

Main Article Content

ศิริวรรณ สนั่นเอื้อ
พิทักษ์ ศิริวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิทยาการกรณีศึกษาเฉพาะ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคตินิยมที่ทำให้เกิดธุรกิจและสินค้าเกี่ยวกับวัตถุมงคลของแหล่งท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ 2) ศึกษาการจัดการตลาดเกี่ยวกับธุรกิจและสินค้าวัตถุมงคลของแหล่งท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ กรณีศึกษา วิหารหลวงพ่อสำเร็จศักดิ์สิทธิ์ จังหวัดสระบุรี คัดเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 8 ราย โดยเก็บข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต และการจดบันทึก ผลการวิจัยพบว่า 1) คตินิยมที่ทำให้เกิดธุรกิจและสินค้าเกี่ยวกับวัตถุมงคลของแหล่งท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ (1.1) ความเชื่อและความศรัทธาต่อองค์หลวงพ่อสำเร็จศักดิ์สิทธิ์โดยตรง เป็นความเชื่อและความศรัทธาที่ได้รับจากประสบการณ์ของตนเองโดยตรง ทำให้เกิดการทำธุรกิจและสินค้าเกี่ยวกับวัตถุมงคล และ (1.2) ความเชื่อและความศรัทธาต่อองค์หลวงพ่อสำเร็จศักดิ์สิทธิ์โดยอ้อม เป็นความเชื่อและความศรัทธาที่ได้รับจากประสบการณ์ผู้อื่น ทำให้เกิดการทำธุรกิจและสินค้าเกี่ยวกับวัตถุมงคล 2) การจัดการตลาดเกี่ยวกับธุรกิจและสินค้าวัตถุมงคลของแหล่งท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ ที่วิหารหลวงพ่อสำเร็จศักดิ์สิทธิ์ พิจารณาจากส่วนประสมทางการตลาด สามารถแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ (2.1) ด้านผลิตภัณฑ์คือ การจัดสร้าง การออกแบบและการตั้งชื่อ การปลุกเสก ประเภทสินค้าและวัตถุ (2.2) ด้านราคาคือ อายุความเก่าแก่ ความชอบและความนิยม เลขมงคล ราคาที่เหมาะสม (2.3) ด้านจัดจำหน่ายคือ ขายหน้าร้าน และออนไลน์ และ (2.4) ด้านการส่งเสริมการตลาด คือ สื่อทางโทรทัศน์ สื่อทางอินเตอร์เน็ต การโฆษณาจากนิตยสารพระ และการประชาสัมพันธ์จากบุคคล สำหรับปัจจัยที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อวัตถุมงคล คือ ศาสตร์ทางตัวเลข ชื่อมงคล สถานที่จัดสร้าง พิธีกรรม และความงามพุทธศิลป์

Article Details

How to Cite
สนั่นเอื้อ ศ., & ศิริวงศ์ พ. (2024). คตินิยมของธุรกิจและสินค้าเกี่ยวกับวัตถุมงคลของแหล่งท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ กรณีศึกษา: วิหารหลวงพ่อสำเร็จศักดิ์สิทธิ์ จังหวัดสระบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 6(2), 53–65. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3691
บท
บทความวิจัย

References

กมลชนก จันทร์แดง. (2562). ความเชื่อ Beliefs. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2566, จาก https://bcnlp56.weebly.com/index.html.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว ฉบับที่ 4 (เม.ย.-มิ.ย. 2559) Spiritual Tourism. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2565, จาก https://secretary.mots.go.th/ewtadmin/ewt/policy/download/article/article_20170511095605.pdf.

กิตติ ภิญโญ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความนิยมพระเครื่องของประชาชนที่มีความสนใจพระเครื่องในจังหวัดกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา ศูนย์พระเครื่องห้างสรรพสินค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่า สาขางามวงศ์วาน. การค้นคว้าอิสระปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

คริษฐา เกยด่านกลาง และบุษกรณ์ ลีเจ้ยวะระ. (2563). กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเพิ่มยอดเช่าบูชา พระเครื่อง พระบูชาหลวงพ่อพระใสวัดอารามหลวง วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย. วารสารวิจัย มข., 10(1), 73-87.

ชัยภักดิ์ อรัญญภูมิ. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเช่าพระเครื่องในตลาดทิพย์เนตร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ณัฐวุฒิ แก้ววิมล. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเช่าพระเครื่องออนไลน์ เว็บไซต์ G-pra. การค้นคว้าอิสระปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระมหามนัสวี ฐิตธมโม. (2564). การจัดการความเชื่อที่มีผลต่อจิตใจเชิงพุทธ: กรีศึกษาวัดเจดีย์ไอ้ไข่. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(6), 61-76.

วรธนัท อชิรธานนท์. (2563). พลังความเชื่อและความศรัทธาในวัตถุมงคลสู่เครื่องประดับและอัญมณี. วารสาร มจร เลย ปริทัศน์, 2(3), 50-61.

วิหารหลวงพ่อสำเร็จศักดิ์สิทธิ์สระบุรี. (2566). เยือนวิหารหลวงพ่อสำเร็จศักดิ์สิทธิ์ที่เที่ยวใกล้กรุงเทพ สระบุรีขอพรให้สมหวัง. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2566 จาก, https://travel.trueid.net/detail/Vx6r8lW9R3Xx.

ศิราพร ณ ถลาง. (2563). ทฤษฎีคติชนวิทยา : วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนานนิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภชัย เรืองสรรงามสิริ. (2552). เครื่องรางของขลังของคนไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พลับลิชชิ่ง.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). ตลาดพระเครื่อง. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2566 จาก, https://www.kasikornresearch.com/th.

สุรชัย ปกป้อง. (2562). คนไทยกับตลาดความเชื่อ. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2566 จาก, https://www.kaohoon.com/column/313152.

แสง จันทร์งาม. (2534). ศาสนศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

Buzinde, CN. (2020). Theoretical linkages between well-being and tourism: The case of self-determination theory and spiritual tourism. Retrieved January 23, 2023, from https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0160738320300645.

Chantavanich, S. (2011). Withikan wichai choeng khunnaphap [Qualitative Research Method]. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Creswell, J. W. (1998). Qualitative Inquiry and Research Design: Choosing Among Five Traditions. Thousand Oaks, CA: Sage.

Haq, F., & Medhekar, A. (2019). Is Spiritual Tourism a Peace Vehicle for Social Transformation and Economic Prosperity in India and Pakistan. In Marketing Peace for Social Transformation and Global Prosperity. GIG Global, 12(1), 189-211.

Kala, D. (2021). ‘Thank you, God. You saved us’-examining tourists’ intention to visit religious destinations in the postCOVID. Current Issues in Tourism, 24(21), 1-7.

Schmitt, B. (1999). Experiential Marketing. Retrieved January 5, 2023, from http://dx.doi.org/10.1362/026725799784870496.

Sousa BB, Castro C, Luís & ME Lopes, P. (2021). Religious and Spiritual Tourism: From Its Origins to Alentejo (Portugal). Retrieved February 5, 2023, from https://www.igi-global.com/chapter/religious-and-spiritual-tourism/264826.