กระบวนการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อนำไปสู่การถ่ายทอดอย่างยั่งยืน ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

บุญชู สงวนความดี

บทคัดย่อ

ทำการศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์ชุมชนในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และเลือกผลิตภัณฑ์ชุมชนที่โดดเด่นมาเป็นกลุ่มตัวอย่าง นำมาสร้างแบบจำลองกระบวนการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการถ่ายทอดอย่างยั่งยืน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนที่โดดเด่น และกิจการยังคงดำเนินการอยู่ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสำรวจ แบบการสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่ม ผลการศึกษา พบว่า ผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มตัวอย่าง มีที่มาของอาชีพ จากการสืบทอดต่อจากรุ่นพ่อ แม่ และครอบครัว หรือได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งของรัฐ และเอกชน และสิ่งที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจการ คือ ต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่ง การผลิต การตลาด สถานการณ์โรคโควิด-19 และการไม่มีคนสืบทอดต่อ จากข้อมูลทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ชุมชนมาเป็นต้นแบบ 15 รายการ นำมาสร้างแบบจำลองกระบวนการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการถ่ายทอดอย่างยั่งยืน ที่แสดงถึงองค์ประกอบที่สำคัญและความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ในการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อใช้ในการวางแผนและตรวจสอบการดำเนินงานสำหรับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัตตยา เอี่ยมคง, และดนุชา สลีวงศ์. (2559). สภาพปัจจุบัน ความต้องการและความคาดหวังของผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าโอท๊อปที่มีต่อการขายสินค้าผ่านตลาดอิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิชาการ RMUTT Global Business and Economics Review, 11(1), 31-42.

ทวีป บุตรโพธิ์. (2561). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน.

นพวรรณ วิเศษสินธุ์. (2561). การเสริมสร้างศักยภาพการผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ด้วยตัวแบบการประเมินความเสี่ยงตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ. Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 2827-2851.

ประทีป วีรพัฒนนิรันดร์. (2541). เศรษฐกิจชุมชน: ความหมาย ฐานคิด แนวทางปฏิบัติ. สืบค้น มกราคม 13, 2567 จาก https://sites.google.com/site/banrainarao/column/commu_econ_02.

ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์, และประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 29(2), 32-48.

ปริฉัตร วงศ์ปัจฉิม. (2563). ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อผลประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2(2), 39.

ปลื้มใจ สินอากร บัณฑิต ผังนิรันดร์ และอรุณรุ่ง วงศ์กังวาน. (2554). ปัจจัยของความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปิยะพันธ์ ทยานิธิ. (2559). วงจรความยั่งยืน (Sustainability Cycle). สืบค้น กรกฎาคม 19, 2563 จาก https://forbesthailand.com/news/other/วงจรความยั่งยืน-sustainability-cycle.

เพชรพันธ์ สุพรรณฝ่าย. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตและการจัดการผลผลิตของผลิตภัณฑ์จากกก ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ไพฑูรย์ อินต๊ะขัน ณัฐนันท์ ฐิติยาปราโมทย์ สุขเกษม ลางคุลเสน นันทะ บุตรน้อย กนกพร ศรีวิชัย และฐิฏิกานต์ สุริยสาร. (2563). การพัฒนาการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มตัดเย็บสู่ความเข้มแข็งอย่างเป็นระบบ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2(4), 71-84.

สุชาติ ไตรภพสกุล. (2558). อิทธิพลของปัจจัยแรงจูงใจต่อการเป็นผู้ประกอบการที่มีต่อการเติบโตและความมุ่งหวังที่จะเติบโตของธุรกิจ: กรณีศึกษาประเทศไทย. สุทธิปริทัศน์, 29(90), 75-93.

สุภาพร พรมมะเริง. (2561). แนวทางการยกระดับสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านริมร่อง ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 21(1), 248-258.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ. (2563). ประวัติความเป็นมา. สืบค้น สิงหาคม 19, 2563 จาก https://samutprakan.cdd.go.th/download/%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3-otop.

Chumkate, J. (2015). Authentic evaluation and management approach of OTOP herbal product of SMEs entrepreneur in Western Region of Thailand. Journal of Advanced Management Science, 3(2), 123-127.

Cosenz, F., & Noto, G. (2017). A dynamic business modelling approach to design and experiment new business venture strategy. Long Range Planning, 51(1), 127-140.

Haggege, M., Gauthier, C., & Rüling, C.-C. (2017). Business model performance: Five key drivers. Journal of Business Strategy, 38(2), 6-15.

Kuratko, D. F., & Hodgetts, R. M. (2007). Entrepreneurship: A contemporary approach (7th ed.). Routledge: Harcourt Brace College Publishers.

Wrigley, C., Bucolo, S., & Straker, K. (2016). Designing new business models: Blue sky thinking and testing. Journal of Business Strategy, 37(5), 22-31.