การปรับปรุงกระบวนการทำงานของแผนกจัดซื้อในบริษัทค้าปลีก

Main Article Content

ศิรัตน์ แจ้งรักษ์สกุล
คุณากร วิวัฒนากรวงศ์
วริศ ลิ้มลาวัลย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานของแผนกจัดซื้อ กรณีศึกษาบริษัทค้าปลีก ที่ประสบปัญหากระบวนการในการปฏิบัติงานที่ใช้เวลานาน มีขั้นตอนที่ซับซ้อน ใช้เวลาในการสั่งซื้อจนกระทั่งได้รับสินค้าหรือบริการเป็นเวลาค่อนข้างนาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของสภาพปัญหากระบวนการทำงานของแผนกจัดซื้อ 2) เพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการทำงานของแผนกจัดซื้อ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลิตภาพก่อนและหลังการปรับปรุงโดยใช้การศึกษาการทำงานโดยใช้เครื่องมือแผนภูมิกระบวนการไหลในการบันทึกข้อมูล จากนั้นใช้การวิเคราะห์กิจกรรมที่เพิ่มคุณค่าและไม่เพิ่มคุณค่าในการวิเคราะห์แต่ละกิจกรรมเพื่อทำการปรับปรุงการลดความสูญเปล่าด้วยหลักการ ECRS จากสภาพการทำงานปัจจุบันกิจกรรมทั้งหมด 46 กิจกรรม เป็นกิจกรรมที่เพิ่มคุณค่า (VA) จำนวน 26 กิจกรรม และกิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่า (NVA) จำนวน 20 กิจกรรม มีระยะเวลารวมทุกขั้นตอน 16 วัน 780 นาที ผู้วิจัยได้ดำเนินการปรับปรุงโดยใช้หลักการ ECRS ในการปรับปรุง ผลการปรับปรุงทำให้ในภาพรวมกิจกรรมรวมลดลงจาก 46 กิจกรรม เหลือ 44 กิจกรรม ลดลง 2 กิจกรรม (ร้อยละ 4.34) ระยะเวลารวมลดลงจาก 16 วัน 780 นาที เหลือ 11 วัน 680 นาที ลดลง 5 วัน 100 นาที (ร้อยละ 30.08)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติชัย อธิกุลรัตน์. (2561). การศึกษาเวลามาตรฐานการติดตั้งแม่พิมพ์ กรณีศึกษา: บริษัทผลิตถุงพลาสติก. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี, 16(1), 77-90.

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2556). การจัดการคลังสินค้า และการกระจายสินค้า. กรุงเทพฯ: โฟกัสมีเดียแอนด์พับลิชชิ่ง.

จำลักษณ์ ขุนพลแก้ว. (2546). หลักการเพิ่มผลผลิต (Basis productivity improvement) (ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สำนักพิมพ์โรงพิมพ์ประชาชน.

ประเสริฐ อัครประถมพงศ์. (2554). การลดความสูญเปล่าหลักการ ECRS. สืบค้น ตุลาคม 10, 2565 จาก https://cpico.wordpress.com/2009/11/29

พงศ์พัฒน์ เพ็ชรรุ่งเรือง. (2557). การบริหารผลิตภาพ. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.

วรรณี ชลนภาสถิต. (2554). การจัดการวัสดุและการจัดซื้อ หน่วยที่ 5 การจัดหาวัสดุ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม. (2552). การศึกษางานอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: ท้อป.

ศิรัตน์ แจ้งรักษ์สกุล, ผ่องใส เพ็ชรรักษ์, รชฏ ขำบุญ, กิตติชัย อธิกุลรัตน์ (2564). การเพิ่มผลิตภาพในสายการผลิตสายไฟในรถยนต์. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 17, 87-101.

องุ่น สังขพงศ์ และสถาพร ทองคำ. (2556). การเพิ่มผลผลิตของสายการผลิตกุ้งไม่มีหัวแช่แข็งในอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อดุลย์ จาตุรงคกุล และพิมพ์เดือน จาตุรงคกุล. (2552). การจัดซื้อ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรุณ บริรักษ์. (2550). การบริหารงานจัดซื้อในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: ไอ ที แอล เทรด มีเดีย.

Shostack, G. L. (1984). Designing services that deliver. Harvard Business Review, 62(1), 133-139.

Kasidit. S. & Chusak. S. (2007). Productivity Improvement with Line Balancing Technique by Genetic Algorithm. Proceeding of 7th National Conference of Industrial Engineering Network. (IE Network), Petchaburi. 685-692.

Kurokawa, Y. (2010). M&A for Value Creation in Japan (6th ed.). Singapore: World Scientific.

Phiphop, L. (2005). Production Planning and Control. Bangkok: Technology Promotion Association (Thailand-Japan) Press.

Ratchawan, K., & Neausom, T. (1995). Motion and Time Study. Bangkok: Physic Center Press.

Wichai, C., & Chaleormpol, B. (2008). Application of production line balancing technique for productivity with electronic part assembly industry. KKU Research Journal, 13(8), 969-980.