ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง ของผู้บริโภคในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

กุลภรณ์ สิงหะสุริยะ
สืบชาติ อันทะไชย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออาหารสำเร็จรูปแช่แข็งในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออาหารสำเร็จรูปแช่แข็งในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 3) เพื่อศึกษาตัวแปรพยากรณ์ที่มีอิทธิผลต่อความตั้งใจซื้ออาหารสำเร็จรูปแช่แข็งในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี และ 4) สร้างรูปแบบตัวแปรพยากรณ์เกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออาหารสำเร็จรูปแช่แข็งในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่ซื้ออาหารสำเร็จรูปแช่แข็งในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 400 คน โดยใช้เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota Sampling) เพื่อเป็นการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการกำหนดสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มตามคุณลักษณะที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก (Logistic Regression Analysis) เพื่อทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31-40 ปี สถานภาพโสด รายได้ต่อเดือนระหว่าง 25,001-30,000 บาท และส่วนใหญ่เลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปแช่แข็งจากแม็คโคร (Makro) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออาหารสำเร็จรูปแช่แข็งของผู้บริโภคในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (svg.image?\bar{x} = 3.95, S.D. = 0.58) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม (svg.image?\bar{x} = 3.40, S.D. = 0.69) รองลงมาคือ ด้านการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง (svg.image?\bar{x} = 3.29, S.D. = 0.71) และ ด้านทัศนคติต่อพฤติกรรมการซื้อ (svg.image?\bar{x} = 3.13, S.D. = 0.69) ตามลำดับ ซึ่งปัจจัยทั้ง 3 ด้าน ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ Yความตั้งใจซื้อ = 1.676 + 0.192 (ด้านสังคม) + 0.159 (ด้านความคุ้มค่าของสินค้า) + 0.130 (ด้านทักษะ) - 0.091 (ด้านภาพลักษณ์ตราสินค้า) + 0.086 (ด้านครอบครัว) Zความตั้งใจซื้อ = 0.222 (ด้านสังคม) + 0.187 (ด้านความคุ้มค่าของสินค้า) + 0.154 (ด้านทักษะ) - 0.112 (ด้านภาพลักษณ์ตราสินค้า) + 0.117 (ด้านครอบครัว)

Article Details

How to Cite
สิงหะสุริยะ ก., & อันทะไชย ส. (2024). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง ของผู้บริโภคในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 6(4), 49–59. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3951
บท
บทความวิจัย

References

กษมรัตน์ ลือนีย์. (2559). การศึกษาความตั้งใจในการเลือกซื้ออาหารแช่แข็งพร้อมรับประทานของพนักงานออฟฟิศในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

จินดานุช ภัทรศักดิ์ชัย. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อเสื้อผาจากประเทศจีนผ่านช่องทางออนไลน์. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชัยวุฒิ กวินธีรภาพ. (2560). การตัดสินใจเลือกซื้ออาหารทะเลแช่แข็งของผู้บริโภคผ่านช่องทางร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ครบวงจรในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. งานนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

เซียน ไป๋. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการซื้ออาหารแช่แข็งของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธนกร ขัติยศ และคมสัน ตันสกุล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มน้ำผลไม้สดของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15. หน้า 294-303. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

ธาริณี สมจรรยา. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวายผ่านช่องทางออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

นภาภรณ์ จันทรศัพท์, ชุติระ ระบอบ และ เฉลิมพร อภิชนาพงศ์. (2550). วิธีการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วิเชียร วุฒิเสน. (2554). การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยการบริโภคอาหารแช่แข็งในเขตเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศศิวิมล บุญสุภา. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการเลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปแช่แข็งพร้อมรับประทานของผู้บริโภคจากร้านสะดวกซื้อเซเว่น-อีเลฟเว่น ในเขตกรุงเทพมหานคร ตามกรอบแนวคิดทฤษฎีพฤตกรรมตามแผน (Theory of Planned Behavior: TPB). ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อาภาภัทร โต๊ะวิจิตร. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภค Generation Y: กรณีศึกษาเว็บไซต์ Lazada. การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยนวัติกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.