การบูรณาการการบูรณาการระบบการเบิกจ่ายค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ของวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือระบบการเบิกจ่ายค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ของวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Main Article Content

อสมาภรณ์ มั่นคง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการระบบเบิกจ่ายค่าตอบแทนและลดระยะเวลาในการดำเนินการเบิกจ่ายค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ  ของวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ การบูรณาระบบการเบิกจ่ายค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ เป็นการใช้ PHP Framework ด้วย CodeIgniter พร้อมกับเทคโนโลยี HTML, PHP, CSS, JavaScript, jQuery,  และ Bootstrap  ในการพัฒนาเว็บไซต์และจัดทำรายงาน ระบบฐานข้อมูลใช้ MySQL เพื่อเก็บข้อมูลการบันทึกเวลาการปฏิบัติงาน การวิจัยเป็นการบูรณาการระบบการเบิกจ่ายค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการโดยการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบทั้งหมด 3  ด้าน  ได้แก่ ด้านประสิทธิผลของระบบ ด้านความเชื่อถือในการใช้งานระบบและด้านความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ จากผลการวิจัย พบว่า ในด้านประสิทธิผลของระบบ ได้คะแนนค่าเฉลี่ย equation = 4.85,  S.D. = 0.34 อยู่ในเกณฑ์ ดีมาก  ด้านความเชื่อถือในการใช้งานระบบ ได้คะแนนค่าเฉลี่ย equation = 4.84,  S.D. = 0.40 อยู่ในเกณฑ์ ดีมากและด้านความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ ได้คะแนนค่าเฉลี่ย equation = 4.81, S.D. =  0.41 อยู่ในเกณฑ์ ดีมาก จากผลการประเมินการทำงานของระบบ แสดงให้เห็นว่า ในการวิจัยครั้งนี้ไม่เพียงแต่บูรณาระบบการเบิกจ่ายค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการขึ้นมาเท่านั้น แต่ระบบยังสามารถทำงานได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ทำให้การดำเนินการเบิกจ่ายค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
มั่นคง อ. (2025). การบูรณาการการบูรณาการระบบการเบิกจ่ายค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ของวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือระบบการเบิกจ่ายค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ของวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 7(3), 87–95. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3964
บท
บทความวิจัย

References

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2550). ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. 2550 [ออนไลน์].

กองกฎหมาย สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (2552). ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาการปฏิบัติงานปกติ (1 พ.ย. 2552) [ออนไลน์].

กำธร สารวรรณ, อภิชัย สารทอง, พรศิริ คำหล้า, นิภา นาสินพร้อม, & จิระพันธ์ ห้วยแสน. (2564). การพัฒนาระบบสำหรับลงเวลาปฏิบัติงานออนไลน์กรณีศึกษาสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วารสารวิชาการปทุมวัน, 11(30), 16–31.

กุณฑล กระบวนรัตน์. (2562). การพัฒนาระบบบริหารจัดการการปฏิบัติราชการของบุคลากร. วารสารมหาวิทยาลัยมหิดล, 8, 74–88.

เกศรินทร์ ภูผานี, & ชลธี โพธิ์ทอง. (2565). การพัฒนาระบบรับข้อมูลและตรวจสอบการเข้าปฏิบัติราชการของบุคลากร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 17(60), เม.ย.–มิ.ย.

ชนิดา แก้วเพ็ชร. (2563). การเขียนโปรแกรมบนเว็บด้วยภาษา PHP (ฉบับพื้นฐาน).

ณัศรุณ บินโหรณ. (2556). การพัฒนาต้นแบบระบบบันทึกเวลาปฏิบัติงานโดยใช้โทรศัพท์สมาร์ตโฟน [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี].

นะรัตร์ คงสวัสดิ์, & ลดาวัลย์ ปัญญากาศ. (2558). ระบบเบิกจ่ายเงินนอกเวลาราชการ. วารสาร PULINET, 2(1), 64–69.

พุทธิพงษ์ บุญชูวงศ์. (2563). ระบบบันทึกการปฏิบัติงานฝ่ายไอที: กรณีศึกษาบริษัท ทาคูนิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) [ปริญญานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม].

อาจารี นาโค. (2556). การประยุกต์ใช้เครื่องอ่านลายนิ้วมือเพื่อตรวจสอบการเข้าชั้นเรียน. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 16(3), วารสารฉบับพิเศษจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 23.

เอกรัตน์ สุขสุคนธ์, สมชิต พวกสันเทียะ, บัววรรณ ศักดิ์เจริญชัยกุล, & พิชชากร ขอบใจ. (2565). การพัฒนาระบบสแกนลายนิ้วมือและจับภาพใบหน้าด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่งสำหรับห้องแม่ข่าย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 10(1).