การเบี่ยงบังในการสื่อสารภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ: คำแสดงทัศนภาวะ โครงสร้างที่ขึ้นต้นด้วยอบุรุษสรรพนาม และประโยคเงื่อนไข

Main Article Content

วรางคณา ชินภาส
ขวัญฤดี เคนหาราช
แพรวพิลาส ราโชมาศ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ศึกษาการเบี่ยงบัง หรือการควบคุมระดับของความหมายหรือความตรงของข้อความที่สื่อสาร ในการสื่อสารภาษาอังกฤษทางธุรกิจ โดยมุ่งที่เครื่องมือทางภาษาสามชนิด คือ คำแสดงทัศนภาวะ โครงสร้างที่ขึ้นต้นด้วยอบุรุษสรรพนาม และประโยคเงื่อนไข โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และชี้ให้เห็นว่าเครื่องมือทั้งสามนี้ สื่อความหมายในการสื่อสารทางธุรกิจอย่างไรในฐานะรูปเบี่ยงบัง การอภิปรายใช้วิธีการวิเคราะห์เปรียบเทียบและการแสดงตัวอย่าง การศึกษาทำการวิเคราะห์ประโยคภาษาอังกฤษที่เป็นภาษาพูดและเขียนจากห้าแหล่งข้อมูล คือ ประโยคที่แต่งขึ้นโดยมีบริบททางธุรกิจเพื่อให้มีความเหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์เพื่อการศึกษาภาษา ตำรา หนังสือ งานวิจัย และสื่อการสอนออนไลน์ ซึ่งเป็นประโยคในสถานการณ์ทางธุรกิจ การศึกษานี้ยังอภิปรายเครื่องมือเพื่อการเบี่ยงบังทั้งสาม ในทางวากยสัมพันธ์และวจนปฏิบัติศาสตร์ (สัญชานและปริพัทธ) ผลการศึกษาพบว่า ตัวอย่างภาษาอังกฤษที่ใช้ในการสื่อสารในบริบททางธุรกิจที่นำมาอภิปราย มาจากสถานการณ์ ประกอบด้วย การโต้ตอบทางจดหมาย อีเมลโต้ตอบเพื่อรับสมัครงาน ประกาศ การนำเสนอ การบอกแนวโน้มทางธุรกิจ และการดำเนินงานในสำนักงาน การเบี่ยงบังทั้งสามประเภทมีประสทธิผลในสองลักษณะ ประการแรก การช่วยให้เกิดความสุภาพ โดยลดความตรงไปตรงมาในขณะที่ผู้พูดอยู่ในสภาวะที่ต้องทำการเจรจา ยื่นข้อเสนอ ทำข้อตกลง และแจ้งข้อกำหนดทางธุรกิจ ประการที่สอง เครื่องมือเหล่านี้ช่วยลดผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ทางธุรกิจ คือ ความเข้าใจผิด ความเสี่ยง และการไม่เป็นไปตามข้อตกลงในอนาคต โดยการลดทอนความหนักแน่นของการตั้งสมมติฐานและการขจัดความไม่มั่นใจ ผลการศึกษาสนับสนุนการนำรูปเบี่ยงบังทั้งสามที่นำเสนอ มาปรับใช้กับการฝึกการสื่อสารภาษาอังกฤษทางธุรกิจ โดยจะสามารถทำให้ผู้ศึกษามีเครื่องมือเพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในบริบทการทำงาน

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biographies

ขวัญฤดี เคนหาราช, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

instructor, English Program

แพรวพิลาส ราโชมาศ, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

instructor, English Program, Faculty of Humanities and Social Sciences, Udon Thani Rajabhat University

References

Biber, D., Conrad, S., & Leech, G. (2002). Longman Student Grammar of Spoken and Written English. Essex: Pearson Education Limited.

Brown, G., & Yule, G. (1983). Discourse Analysis. Cambridge: Cambridge University Press.

Brown, P., & Levinson, S. C. (1987). Politeness: Some Universals in Language Usage (14th ed). Cambridge: Cambridge University Press.

Business letter. (n.d.). Course Hero. https://www.coursehero.com/file/47721678/BUSINESS-LETTERdocx.

Cambridge University Press & Assessment. (2024). Hedging. Cambridge Free Dictionary and Thesaurus. https://dictionary.cambridge.org/dictionary/english/hedging.

Cambridge University Press & Assessment. (2024). Modality. Cambridge Free Dictionary and Thesaurus. https://dictionary.cambridge.org/grammar/british-grammar/modality-forms?q=modality.

Carter, R., & McCarthy, M. (2006). Cambridge Grammar of English. Cambridge: Cambridge University Press.

Chomsky, N. (1981). Lectures on Government and Binding: The Pisa lectures. Dordrecht: Foris Publications.

Coffin, C., Donohue, J., & North, S. (2009). Exploring English Grammar: From Formal to Functional. Abingdon. London: Routledge.

Duckworth, M. (2006). Essential Business Grammar & Practice. Oxford: Oxford University Press.

Jin, Y. (2020). Research on Language Characteristics of Business Letter Writing. Studies in Literature and Language, 20(3), 128-137.

Lakoff, G. (1973). Hedges: A study in meaning criteria and the logic of fuzzy concepts. Journal of Philosophical Logic, 2(4), 458-508.

Maybin, J., Mercer, N., & Hewings, A. (2007). English at Work. Abingdon: Routledge.

Mur-Duenas, P. (2016). Modal Hedging Verbs in English as Lingua Franga (ELF) Business Management Research Ariticles, 69(69), 153.

Paine, C. (2011). Understanding English Grammar. Hoboken: Wiley-Blackwell.

Poole, G. (2011). Syntactic Theory (2nd ed.). London: Palgrave Macmillan.

Prince, E., Frader, J. and Bosk, C, (1982) “On hedging in physician-physician discourse”. In R. D. Pietro (Ed.), Linguistics and the Professions, Norwood: Ablex Publishing, 83-97.

Prasithrathsint, A. (2020). Technigues for Writing Research and Academic Articles. https://op.mahidol.ac.th/ra/contents/orra_document/MMS-05/20200903-1445_02-PROF.AMARA.pdf.

Quirk, R., Greenbaum, S., Leech, G., & Svartvik, J. (1985). A Comprehensive Grammar of the English Language. London: Longman.

Radford, A. (2010). An Introduction to English Sentence Structure (2nd ed.). Cambridge: Cambridge University Press.

Sinturat, T. (2010). An analysis of lexical phrases in business letters: An online business letter corpus and textbooks. Doctoral dissertation, Srinakharinwirot University.

Siwei Y., & Xuefei W. (2014). Hedges Used in Business Emails: A Corpus Study on the Language Strategy of International Business Communication Online. Higher Education Studies, 4(6). http://dx.doi.org/10.5539/hes.v4n6p49.

Sukhothai Thammathirat Open University. (2010). A Distance Training Package on Official Correspondence in English. https://www.stou.ac.th/schools/sla/b.a.english/oce/Pages/part3.html.

The University of Birmingham and Collins Cobuild. (1990). Collins Cobuild English Grammar: Helping learners with real English. London: HarperCollins Publishers.

Thongpoon, P. (2016). Hedges and their functions in dietary supplement for weight loss advertising brochures. Thesis, Thammasat University.

Zi Y., & Yuyang F. (2014). A Study on the Characteristics and Writing Principles of Business Correspondence. International Conference on Education, Language, Art and Intercultural Communication. Atlantis Press, 369-372.