ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจออมเงินของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจออมเงินของนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ ประจำปีการศึกษา 2567 จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลจากการศึกษา พบว่า สภาพคล่อง ส่วนประสมทางการตลาด และผลตอบแทนทางการเงิน มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการตัดสินใจออมเงินของนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยตัวแปรทำนายในสมการร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการตัดสินใจออมเงินได้ร้อยละ 57.9
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กุสุมา ภูมิลำเนา. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมทรัพย์ ธอส. ของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2546). หลักสูตรความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับตลาดเงินและตลาดทุน. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาบุคลากรธุรกิจหลักทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2566). มาปลุกวิญญาณการออมและร่วมกันแก้หนี้กันเถอะ. สืบค้น 7 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/articles/article-2023Oct31.html
ธานินทร์ อุดมศรี. (2554). รายงานการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการออมของครัวเรือนในตำบลหารแก้ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เนษพร นาคสีเหลือง. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการออมเพื่อเตรียมความพร้อมการเกษียณอายุของพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงมลธัญบุรี.
มรกต ฉายทองคำ. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจออมเงินของกลุ่มคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ณิชากร ชัยศิริ, เจษฎา นกน้อย และ วาสนา สุวรรณวิจิตร. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนในจังหวัดสงขลา. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 11(3), 129-136.
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (2567). ระบบสารสนเทศนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. สืบค้น 7 กรกฎาคม 2567, จาก https://portal4.udru.ac.th/report_student1/index3.php
วนิดา อินทสาร และ ชณทัต บุญรัตนกิตติภูมิ. (2564). ปัจจัยเชิงประจักษ์ที่ส่งผลต่อการบริหารเงินออมเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนวัยสูงอายุของประชาชนในจังหวัดชุมพร. วารสารบริหารธุรกิจ, 11(2), 46-56.
วัลลพ ล้อมตะคุ, สิทธิชัย ลีวิวัฒน์วงศ์ และ สิริเกียรติ รัชชุศานติ. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีเงินออมของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารรัชต์ภาคย์, 17(51), 192-204.
ศิรินุช อินละคร. (2563). การวิเคราะห์ทักษะทางการเงินของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 6(2), 78-90.
สถาบันคุ้มครองเงินฝาก. (2566). รายงานประจำปี 2566. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สมิตา สิทธิศักดิ์ และ เอกชัย อภิศักดิ์กุล. (2567). การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคและส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมทรัพย์ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขาสุโขทัย. วารสารบริหารธุรกิจและนวัตกรรม มทร. พระนคร, 3(1), 25-39.
สุกานดา พฤกษติกุล. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษดิจิทัลของพนักงานธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์, นฤมล จิตรเอื้อ และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2560). ปัจจัยแรงจูงใจในการออม สภาพแวดล้อมในการออม และทัศนคติการออม ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมของนักศึกษาวิทยาลัย โลจิสติกส์ และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 8(2), 26-41.
หยาง เจิ้งเซิน. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของพนักงาน Generation Z. การศึกษารายบุคคล ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจอาเซียน, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Bearden, W. O., Ingram, T. N., & LaForge, R. W. (2004). Marketing: Principles & Perspectives. (4th ed.). U.S.A.: McGraw-Hill.
Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row.