การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา ตามนโยบายคุณภาพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2

Main Article Content

อดาวัลย์ สโมทาน
นัฎจรี เจริญสุข
นันทพงศ์ หมิแหละหมัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) ประเมินความเหมาะสมของแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ และวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 112 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน  ใช้การสุ่มอย่างง่าย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 7 คนเครื่องมือที่ใช้คือแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความสอดคล้อง 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบและการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการมีวิสัยทัศน์ต่อการเปลี่ยนแปลง ด้านการทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วม ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านการจัดการอุปสรรคต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านการตัดสินใจในการแก้ปัญหา ด้านการให้กำลังใจเชิงบวก และด้านการจัดหาทรัพยากรที่เพียงพอ 2) แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษาตามนโยบายคุณภาพ พบว่า ควรมีการนำเอาแนวทางไปใช้กำหนดเป็นองค์ประกอบของร่างรูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการ และสนับสนุนการสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา อันประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ เป้าหมาย รูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา องค์ประกอบ และตัวชี้วัดของรูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามนโยบายคุณภาพ และ 3) ความเหมาะสมของรูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามนโยบายคุณภาพ พบว่า ความเหมาะสมของรูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
สโมทาน อ., เจริญสุข น., & หมิแหละหมัน น. (2025). การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา ตามนโยบายคุณภาพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 7(1), 46–56. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/4680
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ จันทรนิมะ, อมร มะลาศรี และสุพจน์ ดวงเนตร. (2565). การศึกษาภาวะผู้นำและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(39), 93-101.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การใช้ SPSS for Windows. กรุงเทพฯ: สามลดา.

เกรียงไกร ทานะเวช (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วารสารช่อพะยอม, 30(1), 47-58.

บุศรา ทับทิมศรี, วัชรี ชูชาติ และ พงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์. (2562). รูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนมาตรฐานสากล. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 7(1), 545-558.

ประหยัด พิมพา. (2561). การศึกษาไทยในปัจจุบัน. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 7(1), 242-249.

พิตติภรณ์ สิงคราช. (2560). การศึกษาไทยในยุคปัจจุบัน. สืบค้น 20 สิงหาคม 2565, จาก http://pittiporn-ja-o.blogspot.com/2010/05/ek.html.

ศุภิญญากิจ เกตุวิเศษกูล. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศุภภัทรวริศรา เกตุสุนทร และฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี. (2564). การศึกษาในยุค Disruptive Technology Education in the Disruptive Technology. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5(3), 73-86.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565. กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Weiss, S. Davic and Legand, P. Claude. (2011). Innovative Intelligence. Ontari. Canada: John Wiley & Sons.