“วารสารจีนวิทยาและการศึกษาภาษาจีนนานาชาติ” เรายินดีต้อนรับผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการในสาขาที่ร่วมส่งบทความเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในวารสารของเรา! ข้อปฏิบัติในการส่งบทความมีดังนี้ :

1. ขอบเขตของบทความ

ประเภทบทความที่รับ

     1)  การวิจัยจีนวิทยา :  รวมถึงภาษาจีน วรรณคดี ประวัติศาสตร์ การศึกษา ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ปรัชญาจีนร่วมสมัย การเปรียบเทียบระหว่างจีนกับต่างประเทศ เป็นต้น

     2)  การวิจัยเปรียบเทียบไทย-จีน : รวมถึงวัฒนธรรมจีน-ไทยและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม การเปรียบเทียบภาษาจีน-ไทย การเปรียบเทียบศาสนาจีน-ไทย การเปรียบเทียบปรัชญาจีน-ไทย การแปลภาษาจีน-ไทย เป็นต้น

     3)  การสอนและการวิจัยภาษาจีนระดับนานาชาติ :

          3.1 การวิจัยการสอน

วิจัยทฤษฎีและการปฏิบัติของการสอนภาษาที่สอง โดยเน้นที่ทฤษฎีการสอนภาษาจีนและการสอนในห้องเรียน รวมถึงการสอนภาษาจีนในมหาวิทยาลัย โรงเรียนมัธยมและระดับประถมศึกษา การศึกษาภาษาจีนในต่างประเทศ และทฤษฎีการสอนภาษาต่างประเทศและการปฏิบัติทั้งในและต่างประเทศ

          3.2 การวิจัยสื่อการเรียนการสอน

วิจัยทฤษฎีและวิธีการจัดทำสื่อการเรียนการสอนภาษาจีนและประเมินสื่อภาษาจีน และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอนภาษาจีนทั้งในประเทศและต่างประเทศ

          3.3 การวิจัยภาษาจีน

การวิจัยเกี่ยวกับภววิทยาของภาษาจีนสำหรับการสอนภาษาที่สอง มุ่งเน้นไปที่การเลือก การเรียงลำดับ และการตีความเนื้อหาการสอนภาษา ตลอดจนการวิเคราะห์ความยากในการสอนและประเด็นสำคัญ

          3.4 การวิจัยการเรียนรู้ภาษาจีนและความรู้ความเข้าใจ

เพื่อสำรวจกฎแห่งการเรียนรู้ภาษาจีน สนับสนุนและส่งเสริมผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลการสอนภาษาจีน

          3.5 การวิจัยการสอนภาษาจีนในต่างประเทศ

การวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาการสอนภาษาจีนในต่างประเทศ สภาพแวดล้อมทางการศึกษา รูปแบบการสอน และลักษณะการสอน และประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

          3.6 งานวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาภาษาจีน

วิจัยการประยุกต์ใช้มัลติมีเดีย อินเทอร์เน็ต และสื่อเคลื่อนที่ที่ใช้ในการสอนภาษาจีนและการฝึกอบรมครู

          3.7 การวิจัยการพัฒนาครู

การวิจัยความสามารถและคุณภาพของครูภาษาจีน และการฝึกอบรมครูภาษาจีน

          3.8 การแลกเปลี่ยนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอน

วิจัยการทดลองสอน การปฏิรูปการสอน การสอนและประเด็นอื่นๆ และแยกแยะประสบการณ์การสอนด้วยการวิเคราะห์เชิงทฤษฎี

          3.9 การวิจัยการทดสอบภาษาจีน

งานวิจัยเกี่ยวกับการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีน การประเมินรายทาง การประเมินการสอนในห้องเรียน และประเด็นอื่นๆ

          3.10 งานวิจัยเกี่ยวกับประวัติการเรียนการสอน:

เพื่อศึกษาต้นกำเนิดทางประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการของการสอนภาษาจีน ให้อภิปรายเกี่ยวกับการสนับสนุนทางประวัติศาสตร์ของการสอนภาษาจีนและความสำคัญต่อการสอนภาษาจีนในปัจจุบัน

2. เงื่อนไขการส่งบทความ

     1)  บทความต้องเป็นภาษาจีน อังกฤษ หรือภาษาไทย

     2)  จำนวนคำ บทความต้องมีความยาวไม่เกิน 15,000 คำ รวมทั้งเชิงอรรถและการอ้างอิง หากเป็นบทความดีเด่นสามารถเลือกใช้จำนวนคำได้ตามความเหมาะสม

     3)  ประเภทไฟล์: วารสารนี้รับเฉพาะการส่งในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ในรูปแบบ WORD (.doc) และรูปแบบ PDF โปรดและไม่ผ่านการทำเป็นzip ไฟล์

     4)  รูปแบบชื่อไฟล์: "ชื่อผู้ประพันธ์ -ชื่อบทความ-ชื่อหน่วยงาน-วันที่ (ปี-เดือน-วัน)-ส่งบทความ"

     5)  สำหรับองค์ประกอบและรูปแบบของต้นฉบับ ดูลิงค์ (https://docs.qq.com/doc/DY2VMS3VLcFpuSFJq) กรุณาอย่าลงชื่อในบทความ และให้ชื่อผู้ประพันธ์ ประวัติผู้เขียน ที่อยู่ทางไปรษณีย์ หมายเลขโทรศัพท์ และที่อยู่อีเมลในหน้าแยกต่างหาก ในบทความควรระมัดระวังในการใช้ข้อความที่เกี่ยวข้องกับผู้ประพันธ์ 

3. การพิจารณาบทความ

      วารสารใช้ระบบการพิจารณาโดยไม่ระบุชื่อตามแนวทางปฏิบัติทางวิชาการระดับนานาชาติ เจ้าของบทความจะได้รับผลพิจารณาประมาณ 3 เดือนนับจากวันที่ได้รับต้นฉบับ หากระยะเวลาเกิน 3 เดือนเจ้าของบทความยังไม่ได้รับผลการประเมิน สามารถจัดการได้ด้วยตนเอง อย่าส่งบทความมากกว่าหนึ่งฉบับ มิฉะนั้นผู้ส่งบทความจะต้องรับผิดชอบต่อผลที่ตามมา

4. ข้อควรระวัง

     1)  วารสารนี้จัดพิมพ์บทความวิชาการที่เป็นต้นฉบับของผู้ประพันธ์และยังไม่ได้ทำการตีพิมพ์

     2)  กรุณาส่งบทความมาที่อีเมล hxygjzwjy@163.com

     3)  หากผู้ประพันธ์เขียนบทความเกี่ยวกับการวิจารณ์หนังสือ กรุณาส่งบทความและหนังสือที่ใช้วิจารณ์มายังกองบรรณาธิการเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจสอบ

     4)  หากบทความถูกใช้ในวารสารแล้ว ลิขสิทธิ์ของบทความ (รวมถึงลิขสิทธิ์แบบ CD และลิขสิทธิ์แบบออนไลน์) จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากผู้ประพันธ์ไม่ยอมรับในเงื่อนไขข้อนี้กรุณาเขียนหายเหตุกำกับตอนส่งบทความ

     5)  บทความจะไม่ถูกส่งคืน โปรดเก็บต้นฉบับเดิมไว้

5. ค่าตอบแทน

วารสารนี้ไม่คิดค่าธรรมเนียม

6. ช่องทางการติดต่อ

     1)  ที่อยู่ทางไปรษณีย์:  สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40002

     2)  ผู้รับ : บรรณาธิการ“วารสารจีนวิทยาและการศึกษาภาษาจีนนานาชาติ”

     3)  อีเมล : hxygjzwjy@163.com