คุณภาพการให้บริการของบังค์เบดโฮสเทล เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ศิวาวุธ วันสูงเนิน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • รังสรรค์ ประเสริฐศรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

คุณภาพ, การบริการ, โฮสเทล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการของบังค์เบดโฮสเทล เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 2. ศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลกับความคิดเห็นที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของบังค์เบดโฮสเทล เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เข้าพักในบังค์เบดโฮสเทล จำนวน 300 คน โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ่

          ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้เข้าพักในบังค์เบดโฮสเทล ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 21 - 30 ปี สัญชาติต่างประเทศ เป็นนักเรียน/นิสิต/นักศึกษา มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 - 20,000 บาท     มีวัตถุประสงค์การเดินทางเพื่อดำเนินงาน/ธุรกิจ และมีระยะเวลาเข้าพัก 2 คืน (2) คุณภาพการให้บริการของบังค์เบดโฮสเทล เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร โดยรวมมีคุณภาพการให้บริการอยู่ในระดับมาก ( X = 4.10, S.D. = .581)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ย พบว่า ด้านความเป็นรูปธรรมของการให้บริการอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.21, S.D. = .629) รองลงมาได้แก่ ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการอยู่ในระดับมาก ( X= 4.10, S.D. = .631) ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจอยู่ในระดับมาก ( X= 4.08, S.D. = .707) ด้านความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้รับบริการอยู่ในระดับมาก (   X=4.08, S.D. = .714) และด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการอยู่ในระดับมาก (  X= 4.05, S.D. = .650) ตามลำดับ (3) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลกับความคิดเห็นที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของบังค์เบดโฮสเทล เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้เข้าพักที่มีเพศ อายุ สัญชาติ อาชีพ และวัตถุประสงค์การเดินทางที่แตกต่างกัน
มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้เข้าพักที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนและระยะเวลาที่พักแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของบังค์เบดโฮสเทลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566- 2570). กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กรรณิกา ผลเจริญ. (2563). ปัจจัยการรับรู้คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความพึ่งพอใจของนักท่องเที่ยวในการใช้บริการที่พักราคาประหยัดในพื้นที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่างนักท่องเที่ยวชาวเอเชียกับชาวยุโรป. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

กิตติศักดิ์ เพ็ชรวงษ์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้เอาประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจต่อการให้บริการของบริษัทประกันภัยในจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จตุพร กิจสนอง และนรารัตน์ เกื้อทอง. (2563). คุณภาพในการให้บริการโรงแรม ลีฟวิ่งชิลล์ เกาะเต่า อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ชมสุภัค ครุฑกะ และคณะ. (2564). ความคาดหวังของผู้รับบริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการธุรกิจโฮสเทลในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(1), 65–79.

ชุติมา วุฒิศิลป์ และประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความคาดหวังและความพึงพอใจในการใช้บริการที่พักแบบโฮมสเตย์ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิชาการฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2), 2066–2079.

ฐาปกรณ์ ทองคำนุช และคณะ. (2567). แนวทางการพัฒนาโรงแรมประเภทโฮสเทลภายในอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 5(1), 1–17.

ธนาวุฒิ ศุภางคะรัตน์. (2552). ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลถึงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการเข้าพักโฮสเทลในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นิตยา พร้าวราม. (2558). แนวทางการพัฒนาเกณฑ์คุณภาพการบริการเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว กลุ่มอาเซียน: กรณีศึกษาโรงแรมในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

บุษบา อู่อรุณ. (2563). ความคาดหวังของนักท่องเที่ยวชาวจีนต่อคุณภาพของโรงแรมระดับ 3 ดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(1), 26–36.

วรพันธุ์ คล้ามไพบูลย์ และจิตติพันธ์ ศรีกสิกรณ์. (2559). The Hostel Bible. ซูเปอร์กรีนสตูดิโอ.

วัชรพงศ์ รติสุขพิมล. (2562). การวิเคราะห์ธุรกิจโฮสเทลในเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร: โครงสร้าง ตลาดและการแข่งขัน. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 32(1), 43–62.

วิภาวี กิตติเธียร. (2566). โฮสเทลฟื้นแค่ 1 ใน 5 LUK Hostel ชงดึง KOL บูมเที่ยวไทย. https://www.prachachat.net/tourism/news-1441521.

วีระ วีระโสภณ ฉันทัช วรรณถนอม และบุญทา ชัยเลิศ. (2564). แนวทางการพัฒนาการจัดการและคุณภาพการบริการของโรงแรมแนวบูทีค ในกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 4(2), 105–119.

อมรรัตน์ สุทธิธรรมานนท์. (2564). ความพึงพอใจในคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำ ในธุรกิจที่พักแรมในเขตอำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Bessadeg, F. (2023). Top 20 Most Visited Cities in the World. https://travelness.com/most-visited-cities-in-the-world.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. Harper & Row. Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1990). Delivery Quality Service: Balancing Customer Perceptions and Expectations. Free Press.

Scheffe, H. (1952). An Analysis of Variance for Paired Comparisons. Journal of the American Statistical Association, 47(259), 381–400.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2024