การนิเทศการสอนที่พึงประสงค์ของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1
คำสำคัญ:
การนิเทศ, การสอนที่พึงประสงค์ของครู, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การนิเทศการสอนที่พึงประสงค์ของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 (2) แนวทางการพัฒนาการนิเทศการสอนที่พึงประสงค์ของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 จำนวน 185 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสอบถามมีค่าความตรงระหว่าง 0.67-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า (1) การนิเทศการสอนที่พึงประสงค์ของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 2 ด้าน คือด้านการนิเทศแบบร่วมมือและด้านการนิเทศแบบไม่ชี้นำ และระดับปานกลาง 2 ด้าน คือ ด้านการนิเทศแบบชี้นำให้ข้อมูลและด้านการนิเทศแบบชี้นำควบคุม (2) แนวทางการพัฒนาการนิเทศการสอนที่พึงประสงค์ของครู มีแนวทาง ดังนี้ (1) แบบร่วมมือ ผู้นิเทศมีขั้นตอนการเจรจาเพื่อหาข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหา (2) แบบไม่ชี้นำ ครูหรือคณะครูรับผิดชอบโดยตรงในการตัดสินใจในเรื่องนั้น ๆ ผู้นิเทศไม่เป็นผู้ชี้นำและมีส่วนร่วมน้อยที่สุด (3) แบบชี้นำให้ข้อมูล ควรดำเนินการโดยใช้พฤติกรรมของความเต็มใจที่จะร่วมรับผิดชอบ (4) แบบชี้นำควบคุม ควรชี้แนะให้ความรู้แก่ครูที่มีแนวโน้มที่จะปฏิบัติตามที่ผู้นิเทศแนะนำ
References
ทิพวรรณ ถาวรโชติ. (2564). รูปแบบการนิเทศด้วยเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลของ
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต
(การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ฌาริณี ทองมี. (2564). การดำเนินการนิเทศการสอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา เขต 19. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัย
มหามงกุฏราชวิทยาลัย.
ศุภวิชญ์ ศิริผลวุฒิชัย. (2563). สู่ความสำเร็จของการนิเทศด้วยพฤติกรรมการนิเทศที่เหมาะสม. วิทยานิพนธ์
(นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาพร สมอุทัย. (2565). การนิเทศการศึกษาหนึ่งตัวช่วยในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ใน
ศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.
สมจินตนา แสงทอง. (2563). แนวทางการส่งเสริมการนิเทศการสอนที่พึงประสงค์ของครูในโรงเรียน
วัดปรกเจริญ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัย ศิลปากร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(พ.ศ.2563-2565) กลุ่มนโยบายและแผน. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1.
Cronbach, L. J. (1971). Essentials of psychological testing. (4th ed.). Harper & Row Publishers.
Downey, C. (2014). The Three Minute Classroom walk-through: Changing School Supervisory
Practice One Teacher at a Time. Corwin Press.
Glanz J., Shulman, V., & Sullivan, S. (2007). Impact of Instructional Supervision on Student
Achievement: Can We Make the Connection? Available: January 17.
Glickman, C. D., Gordon, S. P., & Ross-Gordon, J. M. (2001). Supervision and instructional
leadership: A developmental approach. Longman Publishing, a Pearson Education Company.
Glickman, C. D. (2010). Supervision and instructional leadership: A developmental
approach. Allyan and Bacon.
Goytha, M. (2003). Teaching behaviors of teachers in the Thai language course under the
office of primary Education Sarabun (Unpublished doctoral dissertation) Kasetsart
University.
Johns, C. (2000). Becoming a reflective practitioner. Blackwell Science.
Knowles, J. G., Cole, A. L. & Press wood, C. (1994). Through preservice teachers’ eyes:
Exploring field experiences through narrative and inquiry. Merrill.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.
Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Rogers, C. R. (2009). Carl Rogers on personal power: Inner strength and its revolutionary
impact. Delacorte.
Schon, D. A. (1987). Educating the reflective practitioner: Toward a new design for teaching
And learning in the professions. Jossey-Bass.
Wanzare, Z. (2012). Instructional Supervision in Public Secondary Schools in Kenya.
Educational Management Administration & Leadership, 40(2), 188–216.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.