แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยส่งเสริมทักษะการใช้งานสมาร์ทโฟน ให้กับกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลบางพลับ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ชฎาธาร พุดหล้า องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี
  • วทัญญู วิชาเกรียงไกร องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี
  • ฐิติพร ขีระจิตร

คำสำคัญ:

พัฒนาคุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, สมาร์ทโฟน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยส่งเสริมทักษะการใช้งานสมาร์ทโฟน ให้กับกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน เทศบาลตำบลบางพลับ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค ในพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยส่งเสริมทักษะการใช้งานสมาร์ทโฟน ให้กับกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนเทศบาลตำบลบางพลับ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยศึกษาจากเอกสาร และการตั้งประเด็นคำถามเพื่อศึกษา โดยมีแบบสัมภาษณ์เชิงลึก มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้นำชุมชน หน่วยงานราชการท้องถิ่น และตัวแทนผู้สูงอายุ ในพื้นที่ดังกล่าวจำนวน 10 คน ผลการวิจัย พบว่า แนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ มีแนวทางในการส่งเสริมผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น กลุ่ม บวร (บ้าน วัด โรงเรียน) และหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ เทศบาลตำบลบางพลับ โดยเสนอให้จัดตัวแทนในทุกช่องทางให้ความรู้ความเข้าใจพร้อมเสริมทักษะการใช้งานสมาร์ทโฟน อย่างถูกต้องถูกวิธี ขับเคลื่อนโดยเครือข่ายผู้นำชุมชน หน่วยงานราชการ วัด หรือโรงเรียนผู้สูงอายุ และครอบครัว หรือ บ้าน ในการกระจายความรู้ และจัดกิจกรรมการเรียนรู้การใช้งานสมาร์ทโฟน อยู่สม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถค้นหาข้อมูลทางการแพทย์ ข้อมูลด้านการโภชนาการ การใช้แผนที่นำทาง การใช้งานติดต่อสื่อสารกับคนรู้จักที่อยู่ห่างไกล และการใช้งานสำหรับสั่งซื้อสินค้าที่จำเป็น รวมทั้งสามารถสร้างผลผลิตในชุมชน

 

References

เกริกศักดิ์ บุญญานุพงศ์ และคณะ. (2533). รายงานการวิจัย ชีวิตคนชราในจังหวัดเชียงใหม่. สถาบันวิจัยสังคม

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ขวัญรัก สุขสมหทัย. (2549). การศึกษาความต้องการและการปรับตัวทางสังคมของผู้สูงอายุใน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

ณัฎฐกันย์ อ๋องเอื้อ. (2564). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี.

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐหทัย นิรัติศัย. (2561). ผู้สูงอายุไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

เบญจมาศ ยศเสนา. (2559). การเห็นคุณค่าผู้สูงอายุ. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บ้านจอมยุทธ์. (ม.ป.ป.). ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีหรือทฤษฎี

ความล้าทางวัฒนธรรม. https://www.baanjomyut.com/library_3/thai_social_and_cultural_change/03_4.html

ปาริชาต สถาปิตานนท์ สโรบล. (2542). องค์ประกอบในการขับเคลื่อนประชาสังคม. /linkfile/print5.htm

พนม คลี่ฉายา. (2564). การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุและข้อเสนอเพื่อการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลัง และผลิตภาพของผู้สูงอายุไทย. วารสารนิเทศศาสตร์, 39(2), มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนา ผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

พัชนี เชยจรรยา. (2559). ปัจจัยการสื่อสารเพื่อพยากรณ์ความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้. วารสารนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 34(3), 1-18.

รัชนี ภู่กร. (2552). วิทยาการผู้สูงอายุ. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ฤดี กรุดทอง. (2540). เอกสารประกอบการสอนวิชา ประชากรกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

วิริยาภรณ์ สวัสดิรักษา. (2544). การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุเพื่อการพึ่งพาตนเอง : ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร และคณะ. (2544). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทยในประเด็นการเกื้อหนุนทางสังคมแก่ผู้สูงอายุ. แอล.ที.เพรส.

ศิวะนันท์ ศิวพิทักษ์. (2554). การจัดการนวัตกรรมขององค์การธุรกิจที่มีผลต่อพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมของพนักงาน. ดุษฎีนิพนธ์ บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศิริวรรณ ศิริบุญ. (2543). การตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ: กรณีการตั้งศูนย์บริการทาง สังคมสำหรับผู้สูงอายุ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2539). สังคมวิทยาภาวะสูงอายุ ความจริงและการคาดการณ์ในสังคมไทย.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมฤดี ทองรักษ์. (2561). คุณภาพระบบ การรับรู้ประโยชน์การใช้งาน การรับรู้ความปลอดภัย แล้วความ ไว้วางใจ ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ ของผู้ใช้บริการวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สามารถ ใจเตี้ย. (2562). เสริมสร้างสุขภาพสังคมผู้สูงอายุในยุค thailand 4.0. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สารัช สุธาทิพย์กุล และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2561). รายงานการวิจัยสภาพปัญหา และการเรียนรู้การใช้

เทคโนโลยีของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา ผู้สูงอายุที่ใช้สมาร์ทโฟน ในพื้นที่บริเวณโดยรอบพระปิ่นเกล้า เขตบางกอกจังหวัดกรุงเทพมหานครฯ.

https://repository.rmutr.ac.th/handle/123456789/760?show=full.

สำนักงานสถิติแห่งชาติกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพฯ, สำนักงานสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ

สำราญ จูช่วย (2554). การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม. คณะศิลปะศาสตร์ วิทยาลัยราชพฤกษ์.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2552). การจัดการนวัตกรรมในยุคเศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยความรู้. http://www.nia.or.th/innolinks

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กระทรวงมหาดไทยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2562). พฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทย 2562.

https://www.etda.or.th/publishing-detail/thailand-internet-user-behavior-2019-slides.html.

สุมาลี สันติพลวุฒิ. (2541). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: การวัดคุณภาพชีวิตของประชากรไทยและ ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 38(1), 65-92.

อัญชลี รัชนกุล. (2538). การศึกษาความต้องการของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านนครปฐม.

http:202.28.231/dcms/basic.php (29 สิงหาคม 2559)

Loureiro, & Barbas (2014) Learning and Collaboration Technologies: Technology-Rich Environments for Learning and Collaboration. First International Conference, LCT 2014, Held as Part of HCI International 2014, Heraklion, Crete, Greece, June 22-27, 2014, Proceedings, Part II Tyler, M., Simic, V., & De George-Walker, L. (2018). Older adult Internet super-users: counsel

from experience. Activities, Adaptation & Aging, 42(4), 328-330.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2023