ปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุของผู้ปฏิบัติงานขนส่ง : อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์ปีก ในเขตภาคกลาง
คำสำคัญ:
ปัจจัยการเกิดอุบัติเหตุ, ผู้ปฏิบัติงาน, การขนส่ง, อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์ปีกบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุของผู้ปฏิบัติงานขนส่ง อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์ปีก ในเขตภาคกลาง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและจำแนกตามคุณลักษณะงานของผู้ปฏิบัติงานขนส่ง อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์ปีก ในเขตภาคกลาง รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์คุณลักษณะงานของผู้ปฏิบัติงานขนส่ง อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์ปีกในเขตภาคกลางกับปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ปฏิบัติงานขนส่ง อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์ปีกในเขตภาคกลาง ผู้วิจัยดำเนินการโดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บ รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 222 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ คือสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบไคสแควร์
ผลการศึกษาพบว่าในด้านปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุของผู้ปฏิบัติงานขนส่ง อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์ปีก ในเขตภาคกลาง พบว่า ด้านคู่มือ ระเบียบ กฎเกณฑ์ในการทำงานมีระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านบุคคลที่ปฏิบัติงาน และด้านยานพานะที่ใช้ในการปฏิบัติงาน มีระดับความคิดเห็นมากตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุของผู้ปฏิบัติงานขนส่ง อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์ปีก ในเขตภาคกลาง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าด้านเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ประวัติการเกิดอุบัติเหตุ ชั่วโมงการพักผ่อน ประสบการณ์ในการขับรถยนต์ และภูมิลำเนาที่แตกต่างกันไม่ได้ทำให้ปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุของผู้ปฏิบัติงานขนส่ง อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์ปีกในเขตภาคกลางแตกต่างแต่อย่างใด ยกเว้นด้านประสบการณ์ทำงานและประเภทเกียร์ของรถยนต์ที่มีความแตกต่างทำให้ปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ 0.05 และเมื่อเปรียบเทียบปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุของผู้ปฏิบัติงานขนส่ง อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์ปีก ในเขตภาคกลาง จำแนกตามคุณลักษณะงาน พบว่าด้านความหลากหลายของทักษะ ความสำคัญของงาน และความมีอิสระในการทำงานที่แตกต่างกันไม่ได้ทำให้ปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุของผู้ปฏิบัติงานขนส่ง อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์ปีกในเขตภาคกลางแตกต่างแต่อย่างใด ยกเว้นด้านความมีเอกลักษณ์ของงาน และผลสะท้อนจากงานที่แตกต่าง ทำให้ปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ 0.05 ส่วนการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณลักษณะงาน พบว่าคุณลักษณะงานด้านความมีเอกลักษณ์มีความสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคลด้านต่าง ๆ มากสุด นอกจากนั้นพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลด้านการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับลักษณะงานด้านใดเลย
References
กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2566). ข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรม. https://www.diw.go.th/webdiw/search-factory
กระทรวงคมนาคม. (2565). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2564. https://www.otp.go.th/post/view/6386
จิราวรรณ อินเกิด. (2564). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู. สารนิพนธ์หลักสูตรบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ธันยพร ฉายศรีและคณะ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนของการขนส่งน้ำมันดิบ.
วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน, 14(20), 363-373.
รัชพร ศรีเดช และคณะ. (2564). อุบัติเหตุบนท้องถนน : การสร้างแรงจูงใจเพื่อการป้องกันอุบัติเหตุ
รถจักรยานยนต์ในวัยรุ่นและเยาวชน. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 22(23), 128-132.
Hackman, J. R. & Oldham, G. R. (1980). Work redesign. Mass, Addison-Wesley.
Hawkin, D. J. (1975). Orthodoxy and heresy in John 10: 1-21 and 15: 1-17. Evangelical
Quarterly Al, 47(4), 208–213.
Heinrich. H. W. (1931). Industrial Accident Prevention. (4th ed.). McGraw-Hill BookCompany.
Mohamed, D. & Wael, A.. (2022). Safety and security perceptions in informal transport:
the case of Tunisia. International Journal of Injury Control and Safety Promotion, 23(4), 337–345.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.