ปัญหาการคุ้มครองสิทธิของบุคคลเพศกำกวม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

ผู้แต่ง

  • ณัฐพัชร์ วัชรสกาววงศ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • วรรณวิภา เมืองถ้ำ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

บุคคลเพศกำกวม, สถานะทางกฎหมายของบุคคลเพศกำกวม, สิทธิของบุคคลเพศกำกวม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประวัติความเป็นมา แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของบุคคลเพศกำกวม (2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของบุคคลเพศกำกวมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และกฎหมายอื่นของไทย เปรียบเทียบกับการคุ้มครองสิทธิของบุคคลเพศกำกวมตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นของต่างประเทศ (3) วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมาย และอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของบุคคลเพศกำกวมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (4) เสนอแนะแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของบุคคลเพศกำกวม

               บทความนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้วิธีศึกษาวิจัยเอกสารด้วยวิธีการศึกษาค้นคว้า และรวบรวมเอกสาร ทั้งเอกสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ หนังสือ วิทยานิพนธ์ วารสาร บทบัญญัติของกฎหมาย บทความ คำพิพากษาของศาลฎีกา คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศ เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ

               ผลการศึกษาพบว่า มีปัญหาทางกฎหมาย 4 ประการ คือ (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบัญญัติหลักการห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมด้วยเหตุแห่งเพศ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ไม่ครอบคลุมถึงเพศสภาพ (2) ปัญหาเกี่ยวกับการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่มีบทบัญญัติให้รัฐมีหน้าที่รับรองและคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่มีเพศกำกวม (3) ปัญหาเกี่ยวกับการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่มีบทบัญญัติรับรองสิทธิในชีวิตและร่างกายของบุคคลที่มีภาวะเพศกำกวม และ (4) ปัญหาเกี่ยวกับการที่รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่มีบทบัญญัติรับรองสิทธิการก่อตั้งครอบครัวของบุคคลเพศกำกวม ในการศึกษานี้จึงมีข้อเสนอแนะให้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในประเด็นต่อไปนี้ (1) แก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อวางหลักการห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมด้วยเหตุแห่งเพศให้ครอบคลุมถึงบุคคลเพศกำกวม (2) เพิ่มเติมบทบัญญัติในพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการชะลอการระบุเพศของบุคคลที่เกิดมามีภาวะเพศกำกวม (3) เพิ่มเติมบทบัญญัติในพระราชบัญญัติคำนำหน้านามหญิง พ.ศ. 2551 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการเปลี่ยนคำนำหน้านามของบุคคลเพศกำกวมโดยไม่จำต้องมีการผ่าตัดร่วมด้วย (4) แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 เพื่อรับรองและคุ้มครองสิทธิการก่อตั้งครอบครัวของบุคคลเพศกำกวม

References

กองบรรณาธิการ สำนักกฎหมาย. หลักสิทธิและเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย : แนวความคิดและภาคปฏิบัติ. https://gistda.or.th/ewtadmin//ewt/gistda_web/article _attach/articlefile_2021072215424920210.pdf สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2565.

คณะกรรมการศึกษาแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2549).

แนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เรื่อง สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของชนชาวไทย. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

จันทร์จิรา หวังจิตร. ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด และหลักการของสิทธิมนุษยชน. https://sites.google.com/site/sakanza1234567/khwam-hmay-khwam-sakhay-naewkhid-laea-hlak-kar-khxng-siththi-mnusy-chn.

นัชชา ตันติวิทยาพิทักษ์. ‘นอน-ไบนารี่’ สำนึกทางเพศที่ไม่ใช่ชาย-หญิง หรือความเรื่องมากของคนที่ไม่เข้าพวก?. https://prachatai.com/journal/2018/01/74982

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2562). หลักพื้นฐานสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. วิญญูชน.

พงษ์พิลัย วรรณราช. “สิทธิ” และ “เสรีภาพ” แท้จริงแล้วเหมือนหรือต่างกันอย่างไร”. http://web.krisdika.go.th/data/activity/act83.htm

ภัทรชนน ศักดิ์ศิริสัมพันธ์. เรื่องราวชาว Intersex กลุ่ม LGBTQ“I”A+ ที่ไม่ควรมองข้าม และการแสดงออกผ่านงานศิลปะ. https://www.gqthailand.com/culture/art-and-design/article/intersex-and-art

วศิน มีวัตถา. อวัยวะเพศกำกวมในเด็กทารกแรกเกิด. https://www.si.mahidol.ac.th /th/ healthdetail.asp?aid=70

ศุภรา ศรีปริวาทิน. แนวคิดและหลักการของสิทธิมนุษยชน. http://www.thaipolitics government.org.

สถาบันพระปกเกล้า. สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย. http://www.thaipolitics government.org.

Jens M. S, Anatol D., & Tobias, H. (2018). THE LEGAL STATUS OF INTERSEX PERSONS. United Kingdom: Intersentia Ltd.

M. van den Brink & Tigchelaar, J. (2014). M/V en verder. Sekseregistratie door de overheid en de juridische positie van transgenders [M/F and beyond. Sex registration by the government and the legal position of trans genders] Boom Juridische Uitgevers: Den Haag.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2024