การจัดการคุณภาพโดยรวมเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศ ของนักกีฬาฟุตซอลหญิงสโมสรฟุตซอลมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

ผู้แต่ง

  • บุญฑริกา เชิงเขา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • รังสรรค์ ประเสริฐศรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

การจัดการ, คุณภาพโดยรวม, ฟุตซอล, สโมสร, มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการจัดการคุณภาพโดยรวมเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศนักกีฬาฟุตซอลหญิงสโมสรฟุตซอลมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต และ 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการจัดการคุณภาพโดยรวมเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศนักกีฬาฟุตซอลหญิงสโมสรฟุตซอล มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่สมาชิกสโมสรมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตจำนวน 50 คน ได้แก่ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1. ลักษณะปัจจัยส่วนบุคคลสมาชิกสโมสรฟุตซอลหญิงมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ผู้ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 18-25 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่ำกว่า 1 ปี  2. การจัดการคุณภาพโดยรวมเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศนักกีฬาฟุตซอลหญิงสโมสร มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.26, S.D. = .571) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยมีค่าเฉลี่ยมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาศักยภาพ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.30 ,S.D. = .637) ด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.26, S.D. = .699) ด้านภาวะผู้นำ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}= 4.25, S.D. = .565) ด้านการวางแผนกลยุทธ์ มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.24, S.D. = .621) และ ด้านการมีส่วนร่วมของการทำงานเป็นทีม  มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.23, S.D. = .619) ตามลำดับ 3. ปัญหาและอุปสรรคการจัดการคุณภาพโดยรวมเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศนักกีฬา ฟุตซอลหญิงสโมสรฟุตซอลมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ได้แก่ การขาดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ผู้นำต้องคิดค้นระบบงานที่สร้างวัตกรรมที่นำทีมไปสู่ความเป็นเลิศอยู่เสมอ ความสามัคคีในหมู่นักฟุตซอล และ การนำเทคนิควิทยาศาสตร์ทางการกีฬาส่งเสริมร่างกายนักกีฬาให้แข็งแรง

 

References

ธนบัตร พูนโสภิณ. (2564). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศทางการกีฬาของโรงเรียนกีฬา

ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 18(1), 106-118.

บงกช จันทร์สุขวงค์. (2562). รูปแบบการจัดการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศในโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัย

การกีฬาแห่งชาติกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตการจัดการกีฬา, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พิมพา หิรัญกิตติ. (2552). การศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงบริการทางการแพทย์ ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. [รายงานการวิจัย] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศิริรัตน์ ชุณหคล้าย. (2558). การบริหารจัดการองค์การตามทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2551). คู่มือเทคนิคการปรับปรุงและพัฒนาองค์กร. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2550). ระบบบริหารงานคุณภาพหลักการพื้นฐานและคำศัพท์. กระทรวงอุตสาหกรรม.

Crosby, B. P. (1986). Running Things: The Art of Making Things Happen. McGraw-Hill Education.

Dale, H. B., Glen, H. B., Urdhwareshe, H., & Urdhwareshe, R. (1994). Total Quality Management: An Overview. Prentice Hall.

Deming, W. Edward (1986). Out of the Crisis. Cambridge: Massachusetts Institute of Technology.

Feigenbaum, A. V. (1991). Total Quality Control. (3rd edition). Singapore: McGraw-Hill International Editions.

Pitts, R. A., & Lei, (2000). Strategic Management: Building and Sustaining Competitive Advantage. (2nd). South-Western Publishing.

Robbins, S.P. & Coulter, M. (2002). Management. Prentice Hall.

Schewhart, W. A. (1939). Statistical method from the viewpoint of quality control. The Department of Agriculture.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. Harper. & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2024