การกำหนดเขตท้องที่เพื่อการอนุญาตหรืองดอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ (Zoning) โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กรณีศึกษาเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • กวิสราภัทร แซ่ตั้ง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การกำหนดเขตท้องที่, สถานบริการ, Zoning

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษามีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการกำหนดเขตท้องที่เพื่อการอนุญาตหรืองดอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ (Zoning) โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกรณีศึกษาเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร (2) เพื่อวิเคราะห์ทิศทางและแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงของสถานบริการในเขตกรุงเทพมหานคร และ (3) เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดเขตท้องที่เพื่อการอนุญาตหรืองดอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ (Zoning) โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กรณีศึกษาเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบการสถานบริการ (Zoning) เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาด้วยการบรรยาย ผลการศึกษาพบว่า (1) การกำหนดเขตท้องที่เพื่อการอนุญาตหรืองดอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ (Zoning) พบว่า การปฏิบัติตามกฎหมาย เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาธุรกิจในพื้นที่ เช่น ช่วยแยกแยะประเภทธุรกิจและกลุ่มลูกค้าอย่างชัดเจน เพิ่มความเชื่อถือในตลาดและสร้างความสุขให้กับชุมชน (2) ทิศทางและแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลง พบว่า การปรับตัวเน้นประสบการณ์พิเศษและเทคโนโลยี เช่น ดนตรีสด และการสั่งอาหารออนไลน์ เน้นสุขภาพและความปลอดภัย เจ้าของธุรกิจใส่ใจเรื่องเทรนด์และกลยุทธ์ดิจิทัล เพื่อดึงดูดลูกค้าและปรับรูปแบบธุรกิจให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า บริหารจัดการและปฏิบัติตามกฎหมายเพิ่มความสำเร็จให้กับธุรกิจอีกด้วย และ (3) แนวทางในการกำหนดเขตท้องที่เพื่อการอนุญาตหรืองดอนุญาต พบว่า การเน้นเรื่องหลักโดยการยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจง่าย เช่น ในกรุงเทพมหานคร เน้นสถานบันเทิงเหมาะสำหรับครอบครัว และกำหนดเงื่อนไขการดำเนินธุรกิจเพื่อความเหมาะสมและปลอดภัย รวมถึงการสนับสนุนกิจกรรมสำหรับวัยรุ่น เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยและเหมาะสมในการใช้งาน

References

กรมอนามัย, กองกฎหมาย. (2567). แนวทางการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขในการควบคุมดูแลกิจการสถานบันเทิง เพื่อรองรับการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล. https://laws.anamai.moph.go.th/th/news-anamai/215741

กรุงเทพธุรกิจ. (2567). นิด้าโพล เผยคนส่วนใหญ่ ไม่เชื่อนโยบาย ปิดผับตี 4 ช่วยสร้างรายได้ท่องเที่ยว. https://www.bangkokbiznews.com/ politics/1094955

__________. (2567). เปิดสถิติ 10 อันดับ ‘ต่างชาติเที่ยวไทย’ สูงสุดปี 2566. https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1107195

คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการเปิดสถาบันเทิงครบวงจร. (2567). รายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง ศึกษาการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร (ENTERTAINMENT COMPLEX) เพื่อแก้ปัญหาการพนันผิดกฎหมายและเพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของประเทศ. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

จรูญ แดนนาเลิศ. (2562). คุณภาพชีวิตของประชาชนที่มีผลจากการจัดระเบียบสถานบันเทิง ในเขตตำบลบ้านดู่ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต.

ณรงค์ พลีรักษ์. (2563). การกระจายตัวของร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษาในจังหวัดชลบุรี. Journal of Science and Technology Mahasarakham University, 39(1), 90–102.

ธิษณา หาวารี. (2563). การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในภาวะวิกฤตโควิด-19 ของโรงแรมที่มีการบริหารแบบอิสระขนาดเล็กและขนาดกลางในเขตพัทยาเหนือ. วิทยานิพนธ์เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นฤสรณ์ จินวรรณ และพิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2565). พฤติกรรมการเที่ยวสถานบันเทิงตอนกลางคืนของนิสิตปริญญาตรีมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งใน จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2(2), 1–13.

วรวรรธน์ วิมลอุดมสิทธิ์. (2563). ปัจจัยด้านจิตวิทยาที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานบันเทิงย่านเอกมัย ของผู้ใช้บริการสถานบันเทิง ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักทะเบียนกลาง. (2567). จำนวนประชากรของกรุงเทพมหานคร.https://www.dopa.go.th/news/cate1/view8263

สุภัสสรา ไมทอง และเฉลิมพร เย็นเยือก. (2563). การนำนโยบายสาธารณะไปสู่การปฏิบัติ: กรณีศึกษา การจัดระเบียบสถานบริการ ในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 18(), 639–647.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2024