ปัญหาในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของเทศบาลตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
การจัดการขยะมูลฝอย , อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานีบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของเทศบาลตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของเทศบาลตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี และ 3) แนวทางในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของเทศบาลตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกตการณ์ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ กลุ่มผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้านการวางแผนการดำเนินงานเทศบาลตำบลลำลูกกา จำนวน 5 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการกำจัดขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลลำลูกกา จำนวน 3 คน และประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลลำลูกกา จำนวน 4 คน รวม 12 คน ผลการศึกษา พบว่า ปัญหาในการจัดการขยะมูลฝอยที่สำคัญ คือ ประชาชนยังไม่ได้มีการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน เช่น ไม่มีการคัดแยกขยะมูลฝอยเปียก ขยะมูลฝอยอันตราย ขยะมูลฝอยแห้ง ก่อนจะนำไปทิ้ง ขยะที่มีการคัดแยกอยู่บ้างจะเป็นกระดาษ ขวดน้ำพลาสติก ส่วนขยะประเภทอื่นยังทิ้งรวมกันในถุงพลาสติก ถุงดำหรือถัง ซึ่งเป็นภาชนะเหลือใช้ในบ้านมาเป็นถังขยะ สำหรับปัญหาในการจัดการขยะ พบว่า หลายพื้นที่ในเขตเทศบาลตำบลลำลูกกายังไม่ได้ดำเนินการในเรื่องการจัดการขยะตามนโยบายของเทศบาล เนื่องจากผู้นำชุมชนยังไม่ได้นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง ชุมชนยังไม่ให้ความร่วมมือประชาชนในชุมชนขาดความตระหนัก ไม่มีงบประมาณในการดำเนินการปัญหาในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารสถานการณ์ขยะและยังไม่มีโอกาสในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะชุมชน อีกทั้งยังมองไม่เห็นปัญหาที่เกิดจากขยะจึงไม่ได้ดำเนินการจัดการขยะอย่างเป็นรูปธรรม การจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของเทศบาลตำบลลำลูกกา จะแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ ครัวเรือน/หมู่บ้าน และเทศบาล ฝ่ายครัวเรือนจะจัดให้มีถังรองรับขยะหรือถุงดำ ทุกครัวเรือน เพื่อแยกขยะที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้และขยะที่ต้องการทิ้ง ฝ่ายเทศบาลจัดให้มีสถานที่ที่เหมาะสมและถังรองรับขยะที่เป็นประโยชน์ประจำทุกพื้นที่ในเขตเทศบาลตำบลลำลูกกาและสนับสนุน รณรงค์ ส่งเสริม ให้ความรู้แก่ชุมชนในการบริหารจัดการขยะต่อไป
References
กัญธณิฌาศ์ วัฒน์พานิชกุล. (2563). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนในเขตเทศบาล นครสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสหศาสตร์, 19(2), 55-72.
กรมควบคุมมลพิษ. (2563). มาตรการและแนวทางปฏิบัติหลัก 5 RS. กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม.
กรมควบคุมมลพิษ. (2565). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2564. กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
ธัญญรัตน์ พุทฒิพงษ์ชัยชาญ. (2560, พฤษภาคม-สิงหาคม). การศึกษาเปรียบเทียบปัญหาและแนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:กรณีศึกษา เทศบาลตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. รมยสาร, 15(2), 273-282.
ปิยรัตน์ วงศ์จุมมะลิ และรัดเกล้า เปรมประสิทธิ์. (2560). ของเสียเหลือศูนย์ (Zero Waste): แนวคิดและหลักการสู่สังคมปลอดขยะ. ในการสัมมนาเครือข่ายนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ครั้งที่ 16 วันที่ 29-30 มิถุนายน พ.ศ.2560 (916-929). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ระบบสารสนเทศด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน กรมควบคุมมลพิษ. (2564). ข้อมูลสถานการณ์การจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ. https://thaimsw.pcd.go.th/report1.php?year=2563
วชิรวิชญ์ วรชิษณุพงศ์. (2560). รูปแบบการจัดการขยะชุมชน ในเทศบาลเทศบาลตำบลดงมะดะ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ "นเรศวรวิจัย" ครั้งที่ 13 วิจัยและนวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สฤษดิ์ บุตรเนียร์. (2566). ญัตติ-แก้ไขปัญหาเรื่องการบริหารจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. https://cdc.parliament.go.th
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.