ทัศนคติของประชาชนต่อการให้บริการศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินของ องค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง จังหวัดกำแพงเพชร
คำสำคัญ:
ศูนย์การแพทย์ฉุกเฉิน, ทัศนคติ, องค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดกำแพงเพชรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติของประชาชนต่อการให้บริการศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินขององค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง จังหวัดกำแพงเพชร และ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลต่อการให้บริการศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินขององค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง จังหวัดกำแพงเพชร ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนผู้เคยรับบริการศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินหรือผู้เกี่ยวข้องที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลวังทอง จังหวัดกำแพงเพชรจำนวน 125 คน วิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างจึงเปรียบเทียบรายคู่ตามวิธีการ เชฟเฟ่ ผลการศึกษาพบว่า 1) ทัศนคติของประชาชนต่อการให้บริการศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินขององค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง จังหวัดกำแพงเพชร โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการนำส่งสถานพยาบาล ด้านการขนย้ายลำเลียงและการดูแลระหว่างนำส่ง ด้านการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ ด้านการออกปฏิบัติการของหน่วยฉุกเฉิน ด้านการแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการเจ็บป่วยและการพบเหตุ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับทัศนคติของประชาชนต่อการให้บริการศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินขององค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ ณ ที่อยู่ปัจจุบัน ที่แตกต่างกันมีทัศนคติของประชาชนต่อการให้บริการศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
References
ฉัตร โชติช่วง. (2564). คุณภาพงานบริการที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการศูนย์บริการทรูมูฟ สาขาเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการการตลาดดิจิทัล, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
นราธิป ศรีราม. (2557). แนวคิดเกี่ยวกับการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่น เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่น หน่วยที่ 1-7. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นิศารัตน์ จิรรุ่งแสงสถิต. (2556). ทัศนคติ และส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจจองที่พักบนอินเทอร์เน็ตของนักท่องเที่ยวชาวไทยในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
บุญนภา ทรงพร. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, 7(14), 49-63.
ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน. เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่และการกำกับดูแลหน่วยปฏิบัติการอำนวยการ พ.ศ. 2565. (2565, 12 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139, ตอนพิเศษ 166 ง
วิทวัส จันทร์ลาภ. (2558). ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีและทัศนคติที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้เว็บไซต์สำเร็จรูปของผู้ประกอบการเครื่องสำอางในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สมาคมนักข่าวส่วนกลางและ ท้องถิ่นกำแพงเพชร. (2566). นายกหนึ่ง”เปิด”ศูนย์กู้ชีพ อบต.วังทอง ทุกนาทีมีค่าดูแลทุกชีวิตชาววังทอง. https://kppnews.net/2023/06/19/121276.
สัจพงษ์ โชคคติวัฒน์. (2566). ผลของการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินโรงพยาบาลเจริญศิลป์อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 26(2), 28-40.
แสงอาทิตย์ วิชัยยา. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ระบบการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วนและผู้ป่วยวิกฤติในโรงพยาบาลฝาง. นิพนธ์ต้นฉบับ, 10(1), 93-102.
สำนักงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน กระทรวงสาธารณสุข. (2548). คู่มือการจัดระบบบรการการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (พิมพ์ครั้งที่ 2). แอลทีเพลส.
อรทัย ก๊กผล. (2552). เคล็ดลับการจัดบริการสาธารณะท้องถิ่น: บทเรียนจากรางวัลพระปกเกล้า '51. ส เจริญการพิมพ์.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion-referenced Test Item Validity. Dutch Journal of Educational Research, 2(2), 49-60.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.