การใช้คำอุทานในภาษาไทยของกลุ่มเจนวายบนสื่อออนไลน์

ผู้แต่ง

  • ณัฐวรรณ ชั่งใจ

คำสำคัญ:

คำอุทานในภาษาไทย, รูปแบบการใช้คำอุทาน, กลุ่มเจนวาย, สื่อออนไลน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ และแนวโน้มของการใช้คำอุทานในภาษาไทยของกลุ่มเจนวายบนสื่อออนไลน์ โดยรวบรวมข้อมูลมาจากข้อความแสดงความคิดเห็นของกลุ่มเจนวายที่ปรากฏบนสื่ออินสตาแกรมชื่อว่า @naya_44 ผลการศึกษาพบการใช้คำอุทานในภาษาไทยจำแนกเป็น 2 ด้านดังนี้

ด้านรูปแบบของการใช้คำอุทานในภาษาไทยพบ 6 ประเภท ได้แก่ (1) คำอุทานที่ใช้เครื่องหมายอัศเจรีย์ ( ! ) กำกับ (2) คำอุทานที่ไม่มีเครื่องหมายอัศเจรีย์ ( ! ) กำกับ (3) คำอุทานที่มีการซ้ำพยัญชนะ (4) คำอุทานที่มีการซ้ำรูปสระ (5) คำอุทานที่ใช้ ว เป็นตัวสะกด โดยไม่มีรูปใช้ในภาษาไทยมาก่อน  และ (6) คำอุทานที่ใช้เครื่องหมายอื่นกำกับส่วนท้ายพบ 3 ประเภทคือ  6.1) การใช้เครื่องหมายมหัพภาคหรือจุด ( . )  กำกับ  6.2) การใช้เครื่องหมายไม้ยมก ( ๆ ) กำกับ  และ 6.3) การใช้เครื่องหมายทิลเดอหรือตัวหนอน  ( ~ )  กำกับ  และด้านแนวโน้มของการใช้คำอุทานในภาษาไทยบนสื่อออนไลน์ที่ปรากฏมากที่สุดคือ การใช้รูปแบบคำอุทานที่ไม่มีเครื่องหมายอัศเจรีย์ ( ! ) กำกับ ทั้งนี้พบข้อสังเกตว่า การใช้คำอุทานในภาษาไทยของกลุ่มเจนวายบนสื่อออนไลน์มักพบรูปแบบการใช้คำอุทานได้อย่างมีอิสระโดยไม่คำนึงความถูกต้องตามหลักการใช้คำที่ใช้เครื่องหมายอัศเจรีย์ ( ! ) กำกับส่วนท้ายของคำ เช่น การใช้คำอุทานที่มีการซ้ำพยัญชนะหรือสระ การใช้เครื่องหมายอื่น หรือการใช้ตัวเลขเพื่อแสดงอารมณ์ขบขัน เป็นต้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-11