วรรณกรรมกับการท่องเที่ยว: เศรษฐกิจ (การท่องเที่ยว) สร้างสรรค์จากฐานรากวัฒนธรร

ผู้แต่ง

  • สุภัทรา บุญปัญญโรจน์

คำสำคัญ:

ยุทธศาสตร์ทางวัฒนธรรม, เศรษฐกิจสร้างสรรค์, วรรณกรรม, การท่องเที่ยวสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

วรรณกรรมถือเป็นส่วนที่สำคัญในการแสดงออกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติและวรรณกรรมมักจะถูกนำไปดัดแปลงเป็นศิลปะด้านอื่น ๆ เพราะวรรณกรรมเป็นตัวแทนของความรู้สึกนึกคิดของผู้คนและสะท้อนสภาพสังคมวัฒนธรรมมาทุกยุคทุกสมัย ปัจจุบันยุทธศาสตร์ทางวัฒนธรรม (Soft Power) ถูกนำมาเป็นองค์ประกอบหนึ่งของขีดความสามารถของแต่ละประเทศและยังถือเป็นแนวทางการส่งเสริมเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เรียกว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) อันเป็นแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจที่ถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาประเทศของหลาย ๆ ประเทศ สำหรับประเทศไทยนั้น ได้รับการจัดอันดับเป็นประเทศที่มีขีดความสามารถทางวัฒนธรรมเป็นอันดับต้นๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นการดัดแปลงใช้ทรัพยากรทางวรรณกรรมของประเทศไทยผ่านวิธีการของการท่องเที่ยวสร้างสรรค์ (Creative Tourism) จึงถือเป็นวิธีการหนึ่งในการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย โดยดัดแปลงวรรณกรรมที่มีความโดดเด่นเพื่อสร้างประสบการณ์ให้กับนักท่องเที่ยวผ่านการเชื่อมโยงตลอดจนวิเคราะห์อิทธิพลทางสังคมวัฒนธรรมที่ส่งทอดถึงกันในลักษณะของสหวิทยาการแล้วดัดแปลงเป็นการท่องเที่ยวสร้างสรรค์ตามบริบทปัจจุบันโดยสามารถดำรงเนื้อหาสำคัญหรือสื่อความหมายถึงความโดดเด่นของวรรณกรรมนั้น ๆ ได้อย่างน่าสนใจ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-02