อำนาจละมุน (Soft Power) ที่สะท้อนในภาพยนตร์เยอรมัน Good Bye, Lenin!: การใช้มุมมอง ทางรัฐศาสตร์วิเคราะห์ภาษาและสัญลักษณ์ในภาพยนตร์

ผู้แต่ง

  • ชิษณุพงศ์ ด้วงสุข
  • ปริลักษณ์ กลิ่นช้าง

คำสำคัญ:

อำนาจละมุ, ภาพยนตร์เยอรมัน, กู้ดบายเลนิน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ทฤษฎีอำนาจละมุน (Soft Power) ในการศึกษาวิเคราะห์ทำความเข้าใจความสัมพันธ์และอิทธิพลของพลังอำนาจละมุนต่อสังคมในรูปแบบต่าง ๆ ที่ดำเนินกิจกรรมโดยทฤษฎีนี้ โดยศึกษาผ่านภาพยนตร์เยอรมันที่ออกฉายเมื่อปี ค.ศ. 2003 เรื่อง Good Bye, Lenin! โดย Wolfgang Backer ผลการศึกษาพบว่า ในภาพยนตร์สะท้อนลักษณะการใช้อำนาจละมุนในสังคมเพื่อการสื่อสารกับสังคม และใช้เป็นกลไกการชักจูง เชิญชวน สร้างทัศนคติ สร้างค่านิยม ควบคุม เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และออกนโยบาย ต่อประชาชนและสังคมผ่านกลวิธีหลากหลาย โดยหลักทฤษฎี Soft Power นั้นล้วนมีความมีเกี่ยวข้องทางการเมือง วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สารสนเทศและการสื่อสาร แฟชั่น ศิลปะ สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และภาษา ดำเนินกิจกรรมไปโดยที่ผู้คนอาจไม่รู้ตัวและรับรู้ได้ถึงพลังอำนาจนั้น และมีผลกระทบต่อผู้คนและสังคมให้เป็นไปตามเป้าหมาย นอกจากนั้นยังพบว่าสามารถศึกษาต่อยอดเกี่ยวกับอำนาจละมุนที่ปรากฎในประวัติศาสตร์โดยเฉพาะในเยอรมนีช่วง ค.ศ. 1949-1990 ได้ต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-02