รวมพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี “มณีพลอยร้อยแสง”: การศึกษาเชิงวิเคราะห์”
คำสำคัญ:
มณีพลอยร้อยแสง, บทร้อยกรอง, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฉันทลักษณ์ สุนทรียภาพ และแนวคิดของบทร้อยกรองในหนังสือ “มณีพลอยร้อยแสง : รวมพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” เฉพาะหมวดหมู่ “กลั่นแสงกลอนกานท์” นำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่า สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงใช้ฉันทลักษณ์ในการประพันธ์ 4 ประเภท คือ กลอน กาพย์ โคลง และฉันท์ ส่วนสุนทรียภาพในการประพันธ์ แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ การใช้คำ ได้แก่ การสรรคำ การซ้ำคำ และการหลากคำ และการใช้ภาพพจน์ ได้แก่ อุปมา อุปลักษณ์ บุคคลวัต อติพจน์ ปฏิปุจฉา และปฏิพากย์ และแนวคิดของบทพระราชนิพนธ์ ได้แก่ แนวคิดด้านปรัชญาการใช้ชีวิต แนวคิดด้านขนบธรรมเนียมประเพณี แนวคิดด้านสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แนวคิดด้านสังคม แนวคิดด้านธรรมชาติ และแนวคิดด้านการศึกษา
จากการศึกษาเห็นได้ว่าสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรม-ราชกุมารี ทรงเลือกใช้ฉันทลักษณ์ได้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องของบทร้อยกรอง และทรงใช้คำและภาพพจน์ เพื่อให้เกิดสุนทรียภาพ คือ มีความไพเราะสละสลวย สร้างอารมณ์ความรู้สึก และสื่อความคิด ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในแนวคิดที่ต้องการนำเสนอและให้สาระประโยชน์แก่ผู้อ่าน