การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเชิงพหุวัฒนธรรมสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนสองภาษา
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ, พหุวัฒนธรรม, โรงเรียนสองภาษาบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์การบริหารจัดการเชิงพหุวัฒนธรรมสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนสองภาษา 2) เพื่อพัฒนาและประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเชิงพหุวัฒนธรรมสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนสองภาษา และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางในการนำรูปแบบการบริหารจัดการเชิงพหุวัฒนธรรมสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนสองภาษาไปใช้ประโยชน์ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน คือ การวิจัยเชิงปริมาณ มีเครื่องมือเป็นแบบสอบถามใช้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 420 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ มีเครื่องมือเป็นแบบประเมินใช้กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงกลุ่ม มีวิธีดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติพื้นฐาน สถิติวิเคราะห์ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) โดยใช้โปรแกรมสถิติขั้นสูงวิเคราะห์ (LISREL) ผลการวิจัยพบว่า
- ผลวิเคราะห์และสังเคราะห์การบริหารจัดการเชิงพหุวัฒนธรรมสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนสองภาษา สรุปว่ามี 5 องค์ประกอบหลัก คือ การบริหารจัดการด้านวิชาการ การบริหารจัดการด้านธุรการ การบริหารจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ การบริหารจัดการด้านกิจการนักเรียน และการบริหารจัดการด้านความสัมพันธ์กับชุมชุน
2. ผลพัฒนาและประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเชิงพหุวัฒนธรรมสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนสองภาษา พบว่า ภายหลังการคัดเลือกองค์ประกอบ (ตัวแปรสังเกตได้) ที่มีความเหมาะสม ในการพัฒนา จากจำนวน 40 ข้อ (ตัวแปร) คัดเลือกได้จำนวน 16 ข้อ (ตัวแปร) มีจำนวนความสัมพันธ์ 120 คู่ (จากทั้งหมด 775 คู่) ซึ่งทุกคู่มีค่าความสัมพันธ์แตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยผลการตรวจสอบวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) ด้วยโปรแกรมลิสเรว (LISREL program) ได้ผลดังนี้ Chi-Square = 837.616 (P-value) = 0.064, ดัชนีวัดความสอดคล้องเชิงสัมบูรณ์ (Absolute Fit Index) ประกอบด้วย ค่าความสอดคล้องจากดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) = 0.982 และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้ไขแล้ว (AGFI) = 0.947, ดัชนีวัดความสอดคล้องเชิงสัมพัทธ์ (Relative fit index) ประกอบด้วย ค่า NFI (Normed Fit Index) = 0.994, ค่า NNFI (Non-Normed Fit Index) = 0.996, ค่า CFI (Comparative Fit Index) = 0.998, ค่า IFI (Incremental Fit Index) = 0.998, ค่า RFI (Relative Fit Index) = 0.985, ดัชนีวัดความสอดคล้องในรูปความคลาดเคลื่อน (Root Mean Square Error of Approximation) ประกอบด้วย ค่า RMSEA 0.028 ค่า RMR (Root Mean Square Residual) = 0.009 และ ค่า CN = 479.632 และนอกจากนี้พบว่า ผลประเมินรูปแบบในการส่งเสริมนำไปใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียงลำดับตามคะแนนค่าเฉลี่ยที่อยู่ในระดับสูงที่สุด 4 ด้านได้ดังนี้ ด้านความถูกต้อง (4.94) ด้านความเหมาะสม (4.86) ด้านการใช้ประโยชน์ (4.76) และ ด้านความเป็นไปได้ (4.70) ตามลำดับ
3. ผลการนำเสนอแนวทางในการนำรูปแบบการบริหารจัดการเชิงพหุวัฒนธรรมสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนสองภาษาไปใช้ประโยชน์ สามารถจัดลำดับโดยการจำแนกเป็นรายด้านด้วยการเรียงลำดับตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงที่สุดไปหาค่าน้ำหนักองค์ประกอบที่ต่ำสุด ดังนี้ การบริหารจัดการด้านวิชาการ (0.929) รองลงคือ การบริหารจัดการด้านธุรการ (0.899) การบริหารจัดการด้านกิจการนักเรียน (0.748) การบริหารจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ (0.748) และการบริหารจัดการด้านความสัมพันธ์กับชุมชน (0.692) ตามลำดับ