การปรับตัวของชาวนามุสลิมในพื้นที่กรุงเทพมหานครรอบนอกฝั่งตะวันออก

ผู้แต่ง

  • ภคพล เส้นขาว

คำสำคัญ:

การเปลี่ยนแปลงของชุมชน, ชาวนามุสลิม, กรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเงื่อนไข กระบวนการกลไกและแนวทางในการปรับตัวของชาวนามุสลิมในพื้นที่กรุงเทพมหานครรอบนอกฝั่งตะวันออก ทำการศึกษาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน และใช้การสนทนากลุ่ม (Focus Groups) กับชาวนามุสลิมทั้งในเขตหนองจอก คลองสามวา และมีนบุรี มาร่วมกระบวนการในการพัฒนาแนวทางการเปลี่ยนแปลงของชุมชนชาวนามุสลิมในเขตกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก

            ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยหรือเงื่อนไขที่มีผลต่อการปรับตัวของชาวนามุสลิมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร รอบนอกฝั่งตะวันออกประกอบด้วย อิทธิพลของตลาดภายใต้ระบบทุนนิยมของเทคโนโลยีในยุคไทยแลนด์ 4.0 สถานการณ์การแตกตัวทางชนชั้นชุมชนชาวมุสลิม  บทบาทของรัฐและกลไกที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของชาวนามุสลิมตามระบบทุนนิยม ความต้องการในการรักษาวิถีการผลิตแบบเดิมเอาไว้ และหลักการของศาสนาอิสลามที่ชาวนามุสลิมยึดถือ (2) กระบวนการหรือกลไกในการปรับตัวของชาวมุสลิมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร รอบนอกฝั่งตะวันออก ประกอบด้วย การสร้างนวัตกรรมในการผลิตในการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตสู่เกษตรทางเลือก แนวทางการเปลี่ยนแปลงของชุมชนชาวนามุสลิมสู่เกษตรธรรมชาติ การปรับตัวภายใต้วิถีชีวิตของชาวนามุสลิมในการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิต การปรับตัวตามสถานการณ์ในปัจจุบัน ที่ต้องมีความยืดหยุ่นหลากหลายในการประกอบอาชีพ การปรับวิถีชีวิตไปสู่นอก ภาคการเกษตร การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ข้าวและการแปรรูปข้าวให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และการปฏิรูประบบการผลิต และ (3) แนวทางในการปรับตัวของชาวมุสลิมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร รอบนอกฝั่งตะวันออก ประกอบด้วย การปรับตัวไปสู่การทำนาที่มีประสิทธิภาพ การปรับตัวไปสู่การพัฒนาข้าวที่มีคุณภาพสูง และ การพัฒนาไปสู่ธุรกิจข้าวในโซ่อุปทาน ซึ่งหากจะนำไปประยุกต์ใช้ต้องมีการพิจารณาให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ตั้งไว้ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อให้มีประสิทธิผลมากที่สุดในปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้เกิดขึ้นให้ได้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประชาชน สังคม ประเทศชาติต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-03