นักบัญชีนวัตกรในอนาคต

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • เอกวินิต พรหมรักษา

คำสำคัญ:

นักบัญชีนวัตกร, การพัฒนาทักษะเพื่ออนาคต

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์ศักยภาพของนักบัญชีในอนาคต อันเกิดจากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมโลกภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) ปัจจุบันการพัฒนาประเทศถูกขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation) และเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital) ส่งผลให้นักบัญชีต้องปรับเปลี่ยนตัวเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หากนักบัญชียังคงทำงานอยู่แบบเดิม ๆ นักบัญชีก็จะเกิดความหล้าหลังไม่สามารถรับมือการเปลี่ยนแปลงจากการหลั่งไหลเข้ามาของนักลงทุนธุรกิจข้ามชาติ และการเข้ามาของนักวิชาชีพบัญชีต่างชาติ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่ได้ ดังนั้น นักบัญชีในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจำเป็นต้องมีการพัฒนาศักยภาพพื้นฐานสำคัญ ด้านความรู้ ด้านการทำบัญชี ด้านการสอบบัญชี ด้านการบัญชีบริหาร ด้านการวางระบบบัญชี ด้านการบัญชีภาษีอากร และด้านการศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชี ที่ครอบคลุมถึงคุณลักษณะนักบัญชีมืออาชีพ 5 ด้าน คือ 1) ทักษะทางปัญญา 2) ทักษะทางวิชาการเชิงปฏิบัติการและหน้าที่งาน 3) ทักษะทางคุณลักษณะเฉพาะบุคคล 4) ทักษะทางปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการสื่อสาร และ 5) ทักษะทางด้านองค์การและการจัดการธุรกิจ ซึ่งเป็นการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างไม่จบสิ้น (Lifelong Learning) จากการศึกษาทบทวนวรรณกรรม แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบพบว่า นักบัญชีจำเป็นและควรตระหนักถึงการพัฒนาทักษะเพื่ออนาคต (Reskill) 3 ทักษะที่สำคัญ คือ 1) ทักษะการใช้เทคโนโลยี (Technology Skills) 2) ทักษะด้านความรู้ (Hard Skills) และ 3) ทักษะด้านอารมณ์ (Soft Skills) เนื่องจากในอนาคตนักบัญชีจะเป็นผู้รวบรวมองค์ความรู้จากศาสตร์ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้รวมกันจนสามารถสร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมคุณค่า ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงานเป็นองค์ความรู้ใหม่เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต่องานบัญชีต่อไป

References

กองบริหารข้อมูลตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน. (2563). สถานการณ์ตลาดแรงงานไตรมาสที่ 2 ปี 2563. สืบค้น มกราคม 7, 2564 จาก : https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/lmia_th/a0f1c81a44382ecebd719223a443e6e9.pdf.

กมลภู สันทะจักร และกนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2561). คุณลักษณะนักบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของหน่วยงานราชการในประเทศไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(3), 771-790.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์, (2563). กรมพัฒน์ฯ เผยนโยบาย ปี 63 เร่งผลักดัน 162 สำนักงานบัญชีคุณภาพ สู่การเป็นสำนักงานบัญชีดิจิทัล พร้อมตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติ. สืบค้น มกราคม 7, 2563 จาก : https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=469416694.

กรมสรรพากร. (2559). คู่มือคู่มือใบกำกับภาษี. สืบค้น กุมภาพันธ์ 23, 2563 จาก https://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/ebook/taxinvoice.pdf.

กรมสรรพากร. (มปพ). หักภาษี (ณ ที่จ่าย) ครบจบในขั้นตอนเดียวด้วย e-Withholding Tax. สืบค้น มีนาคม 5, 2563, จาก: https:// www.rd.go.th/publish/fileadmin/download/e-WithholdingTax.pdf.

กระทรวงแรงงาน. (2559). กรอบยุทธศาสตร์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579). สืบค้น กุมภาพันธ์ 20, 2563 จาก https://www.nstda.or.th/th/nstda-doc-archives/thailand-40/11704-ministryoflabour.

กองกำกับบัญชีธุรกิจ. (2562). ก้าวทันมิติใหม่การบัญชียุคดิจิทลั กรมพัฒนาฯ เร่งเสริมแกร่งผู้ประกอบธุรกิจสำนักงานบัญชี...รับการเปลี่ยนแปลง (ฉบับที่ 51). สืบค้น กุมภาพันธ์ 27, 2562 จาก https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=469414025.

คณะอนุกรรมการด้านงานต่างประเทศ. (2559). แนวโน้มของเทคโนโลยี ที่อาจส่งผลกระทบต่อวิชาชีพบัญชี. สืบค้น กุมภาพันธ์ 18, 2563 จาก : http://www.tfac.or.th/upload/9414/r6aiIPT0Sc.pdf.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2556). การสรรหาการคัดเลือกและการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัญชา วัฒนวิไล และจุฑามน สิทธิผลวนิชกุล. (2555). การพัฒนาศักยภาพวิชาชีพไทยเมื่อเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ. วารสารนักบริหาร Executive Journal. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สืบค้น กุมภาพันธ์ 17, 2563 จาก https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/july_ sep_12/pdf/aw03.pdf.

นันทวรรณ บุญช่วย. (2563). ยุคพลิกผันทางเทคโนโลยีกับการพัฒนานักบัญชีนวัตกร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 3(1), 15-26.

นิรันดร์ จุลทรัพย์. (2557). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่ประชาคมอาเชียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ,14(1), 38-58.

ผกาพรรณ พรหมสาขา ณ สกลนคร และรัตนา วงศ์รัศมีเดือน. (2561). หลักการบัญชีขั้นต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เสมาธรรม.

ยุทธนัยณ์ นิธิพิสุทธิกุล. (2562). E-TAX Invoice&Receipt กับ...บัญชียุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: บริษัท อี-คัสตอม เชอร์วิส จำกัด.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2526). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

ราชิต ไชยรัตน์, (2563). บทบาทนักบัญชีในโลกอนาคตจากนักบัญชี สู่นักบัญชีวัตกร. สืบค้น พฤษภาคม 15, 2563 จาก http://www.tfac.or.th/Article/Detail/126212.

ศิรประภา ศรีวิโรจน์ และกนกวรรณ เอี่ยมชื่น. (2562). นักบัญชี ในยุค 4.0. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 9(1), 19-28.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2560). พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547. สืบค้น ตุลาคม 19, 2560 จาก http://www.tfac.or.th/Article/Detail/66888.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2560). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี. สืบค้น ตุลาคม 20, 2560 จาก http://www.tfac.or.th/Article/Detail/66980.

สมบัติ นามบุรี. (2562). นวัตกรรมและการบริหารจัดการ. วารสารวิจัยวิชาการ (พฤษภาคม-สิงหาคม 2562), 2(2), 121-134.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2550). นวัตกรรม. สืบค้น กันยายน 17, 2550, จาก http://www.royin.go.th/?knowledges.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2561). สภาวะการศึกษาไทยปี 2559/2560 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Blockchain Review. (2563). บล็อกเชน (Blockchain) จะเปิดม่านยุคใหม่แห่งอุตสาหกรรมบัญชี. สืบค้น กุมภาพันธ์ 29, 2563 จาก https://blockchain-review.co.th/blockchain- review/blockchain- accounting.

Bottom Line. (2563). รีสกิล (Reskill) ทางรอดคนทำงานยุคดิจิทัล. สืบค้น เมษายน 10, 2563 จาก https://bottomlineis.co/Business_Work_Career_Reskill_Corporate.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-10

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ