คำแนะนำสำหรับผู้เขียน
1. นโยบายการตีพิมพ์ในวารสารร่มยูงทอง
วารสารร่มยูงทองเป็นวารสารวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี เปิดรับบทความวิจัย (Research Article) และบทความวิชาการ (Academic Article) ด้านบริหารธุรกิจ ดิจิทัล การบัญชี นิเทศศาสตร์ การท่องเที่ยวและการโรงแรม และด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัยและนักศึกษาใช้เป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและผลงานวิจัย 2) เพื่อพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการและงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
ทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิแบบ Peer Review จำนวน 3 ท่าน เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยรับพิจารณาต้นฉบับของบุคคลทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย กำหนดตีพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ (ราย 4 เดือน)
ทั้งนี้ ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องตามหลักเกณฑ์ที่วารสารกำหนด
ทัศนะและความคิดเห็นในบทความวารสารร่มยูงทอง ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความและไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารร่มยูงทอง
2. ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารร่มยูงทอง
2.1 บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่มีการค้นคว้าอย่างมีระบบ และมีความมุ่งหมายชัดเจน เพื่อให้ได้ข้อมูลหรือหลักการบางอย่างที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือการนำวิชาการมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ บทความวิจัยมีรูปแบบของการวิจัยตามหลักวิชาการ เช่น การตั้งสมมติฐานหรือการกำหนดปัญหาที่สมเหตุผล โดยจะต้องระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน มีการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ การตีความและสรุปผลการวิจัยที่สามารถให้คำตอบหรือบรรลุวัตถุประสงค์ Download===>> Word / Pdf
2.2 บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความที่เขียนขึ้นในลักษณะวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่ จากพื้นฐานทางวิชาการที่ได้เรียบเรียงจากผลงานทางวิชาการของตนเองหรือของผู้อื่น หรือเป็นบทความทางวิชาการที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นความรู้ที่มีประโยชน์แก่คนทั่วไป Download===>> Word / Pdf
3. ระบบการอ้างอิงและเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ
เอกสารที่นำมาอ้างอิงควรได้มาจากแหล่งที่มีการตีพิมพ์ชัดเจน อาจเป็นวารสาร หนังสือหรือข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ ผู้เขียนบทความต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทั้งหมดก่อนส่งต้นฉบับ ผู้เขียนบทความควรตรวจสอบถึงความถูกต้องของการอ้างอิงเอกสาร เพื่อป้องกันความล่าช้าในการตีพิมพ์บทความ เนื่องจากบทความที่มีการอ้างอิงไม่ถูกต้องจะไม่ได้รับการส่งต่อเพื่อพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจนกว่าการอ้างอิงเอกสารจะได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง
การอ้างอิงในเนื้อหาบทความ/เอกสารอ้างอิง รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อเรื่องและท้ายเล่มใช้ตามรูปแบบของ American Psychological Association (APA) หรือระบบนาม–ปี โดยใช้วงเล็บเปิด-ปิด แล้วระบุชื่อ-นามสกุลของผู้แต่ง ปีที่จัดพิมพ์ และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง เอกสารที่นำมาอ้างอิงในเนื้อหาบทความจะต้องปรากฏในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความทุกรายการ และเจ้าของบทความต้องรับผิดชอบความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทั้งหมด
Download===>> Pdf
=========================================================================================
คําแนะนําสําหรับผู้เขียนบทความ Download===>> Pdf
วารสารร่มยูงทอง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
=========================================================================================
บทความทุกเรื่องที่เสนอจะต้องมีชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยให้ระบุตําแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี)
ตําแหน่งงาน หน่วยงานที่สังกัด E-mail (ตามแบบฟอร์มที่วารสารกําหนด)
1. บทความวิจัย (Research Article) ประกอบด้วย
1. ชื่อบทความ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
2. บทคัดยอ (Abstract) ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ (ไม่เกิน 250 คํา)
3. คําสําคัญ (Keywords) 3 - 5 คํา
4. บทนํา
5. วัตถุประสงค์การวิจัย
6. กรอบแนวคิดในการวิจัย (ถ้ามี)
7. สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
8. การทบทวนวรรณกรรม
9. วิธีดําเนินการวิจัย
10. ผลการวิจัย
11. อภิปรายผลการวิจัย
12. ข้อเสนอแนะ
13. เอกสารอ้างอิง (อ้างอิงเฉพาะรายการที่ปรากฏในบทความเท่านั้น โดยใช้ระบบ APA7)
2. บทความวิชาการ (Academic Article) ประกอบด้วย
1. ชื่อเรื่อง ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
2. บทนํา ระบุความสําคัญของสถานการณ์ที่เชื่อมโยงไปสู่ประเด็นในการนําเสนอบทความ
3. เนื้อเรื่อง เรียบเรียงเนื้อหาโดยการใช้ภาษาที่ถูกต้องตามหลักวิชาการหรือความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย มีความครบถ้วนสมบูรณ์ เกิดประโยชน์เชิงวิชาการต่อสังคมและประเทศชาติ มีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่นํามาใช้ในบทความอย่างถูกต้อง
4. บทสรุป ให้ข้อคิดเชิงสร้างสรรค์ เสนอแนะแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน
5. เอกสารอ้างอิง (อ้างอิงเฉพาะรายการที่ปรากฏในบทความเท่านั้น โดยใช้ระบบ APA7)
3. การจัดเตรียมต้นฉบับ
1. บทความที่นําเสนอต้องพิมพ์ด้วยตัวอักษร TH SarabunPSK
2. มีความยาว 10 - 15 หนา ขนาดกระดาษ A4
3. ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นระยะขอบทุกด้าน 2.54 เซนติเมตร (1 นิ้ว) จัดเรียงเนื้อหากระจายแบบไทย (จัดตาม template ที่กําหนดให้) ใช้ระบบการอ้างอิงแบบ APA7
4. การจัดทํารูปภาพ
1. รูปภาพทุกภาพจะต้องมีความคมชัดเมื่อแปลงไฟล์เป็นขาวดํา ขนาดภาพและตัวอักษรที่ปรากฏในภาพต้องมีขนาดที่มองเห็นได้ชัดเจน
2. ทุกภาพจะต้องระบุหมายเลขภาพ คําบรรยายภาพ การอ้างอิงแหล่งที่มาของภาพ