จริยธรรมการเผยแพร่

จริยธรรมการเผยแพร่ วารสารร่มยูงทอง

---------------------------------------------------------------------------------------------------

จริยธรรมของผู้เขียนบทความ
   1.   ไม่นำบทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่เคยเผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการนำเสนอเพื่อเผยแพร่ หรือเข้าร่วมประชุมวิชาการ มานำส่งเพื่อขอรับการเผยแพร่
   2.   บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ส่งให้กองบรรณาธิการพิจารณาจะต้องเป็นไปตามรูปแบบที่กำหนด มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลตามรูปแบบที่วารสารกำหนด ไม่คัดลอกหรือนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง หรือละเมิดลิขสิทธิ์ใด ๆ
   3.   กรณีเป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในมนุษย์ ผู้เขียนต้องมีหนังสือรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมในมนุษย์
   4.   ในกรณีที่ผู้เขียนไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของวารสารหรือมีการละเมิดใด ๆ เกิดขึ้น หากกองบรรณาธิการตรวจพบถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงฝ่ายเดียว
   5.   กรณีผู้เขียนประสงค์ขอยกเลิกการเผยแพร่บทความ จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของวารสารทั้งหมดเพียงฝ่ายเดียว เนื่องจากวารสารไม่ได้เก็บค่าลงทะเบียนรับบทความ

จริยธรรมของกองบรรณาธิการ 
   1.   รักษาและพัฒนาคุณภาพของบทความและวารสารให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ปฏิบัติตามกระบวนการของวารสารอย่างเคร่งครัด ตั้งแต่การกลั่นกรองคุณภาพของบทความก่อนเริ่มกระบวนการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ การพิจารณาเผยแพร่บทความที่ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยคำนึงถึงประโยชน์ทางวิชาการและนโยบายของวารสารเป็นหลัก
   2.   ตรวจสอบการคัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) หากมีหลักฐานชัดเจนว่ามีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น จะติดต่อผู้เขียนเพื่อขอคำชี้แจงประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การเผยแพร่บทความนั้น
   3.   ไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับผู้เขียนและผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ ก่อนที่บทความจะได้รับการเผยแพร่
   4.   ทำหน้าที่โดยปราศจากอคติ เปิดโอกาสให้ผู้เขียนทุกกลุ่มจากทุกสถาบันได้มีโอกาสเผยแพร่บทความอย่างเท่าเทียม 
   5.   ไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาบทความและผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ
   6.   ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ และกองบรรณาธิการวารสาร
   7.   ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาและสิทธิของผู้เขียนบทความ
   8.   ส่งเสริมและสนับสนุนการแสดงออกทางความคิดเชิงวิชาการอย่างเสรี

จริยธรรมของผู้ประเมินบทความ  
   1.   ทำหน้าที่ด้วยใจเป็นกลาง ปราศจากอคติเชิงวิชาการ ยอมรับความแตกต่างทางความคิดเห็น โดยคำนึงผลประโยชน์เชิงวิชาการ คุณภาพของบทความ และมาตรฐานของวารสารเป็นสำคัญ
   2.   ประเมินบทความด้วยความรวดเร็ว ส่งผลการประเมินตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
   3.   ไม่เปิดเผยข้อมูลบทความ ผู้เขียนบทความ ผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนข้อมูลการพิจารณากลั่นกรองของบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะเผยแพร่
   4.   ไม่นำข้อมูลจากบทความที่ประเมินไปเป็นของตน หรือนำไปใช้ประโยชน์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของบทความก่อนที่บทความจะตีพิมพ์เผยแพร่
   5.   ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนบทความ ผู้ทรงคุณวุฒิอื่น กองบรรณาธิการ หรือพวกพ้อง
   6.   ไม่เรียกร้องหรือกำหนดค่าตอบแทนหรือผลประโยชน์อื่นใดจากการทำหน้าที่