การศึกษาตํารับยาสมุนไพรในการรักษาอาการปวดประจําเดือน ในศาสตร์การแพทย์แผนไทย

ผู้แต่ง

  • วรรณี พรมด้าว SUAN SUNANDHA RAJABHAT UNIVERSITY
  • แสงสิทธิ์ กฤษฎี
  • สลิลทิพย์ ตันปัน
  • ณัฏฐินีย์ อาจหาญ

คำสำคัญ:

ตํารับยาสมุนไพร, อาการปวดประจําเดือน, ศาสตร์การแพทย์แผนไทย, ภูมิปัญญาไทย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาตำรับยาสมุนไพรในการรักษาอาการปวดประจำเดือน  และวิเคราะห์รสยาสมุนไพรในแต่ละตำรับ ซึ่งค้นคว้าในหนังสือแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ (ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ) โดยสังเคราะห์คำไทยโบราณที่เกี่ยวกับคำว่าประจำเดือน และได้รวบรวมนำคำที่ได้มาใช้เป็นคำสืบค้นตำรับยาสมุนไพรในการรักษาอาการปวดประจำเดือน แล้วนำมาวิเคราะห์จัดเรียงและแบ่งแยกตำรับยาสมุนไพรตามกลุ่มอาการปวดประจำเดือน และประจำเดือนมาไม่ปกติ ผลการศึกษา พบว่า สมุนไพรที่นำมาใช้ในการรักษาอาการปวดประจำเดือนมากที่สุด คือ สะค้าน และช้าพลู จำนวน 13 ตำรับ รองลงมา คือ รากเจตมูลเพลิง ขิงแห้ง พริกไทย และดีปลี มีจำนวน 12 ตำรับ     เมื่อวิเคราะห์รสยา พบว่า รสขม เป็นรสที่ใช้รักษากลุ่มอาการปวดประจำเดือนมากที่สุด นอกจากนี้ มี ขิง เป็นสมุนไพรที่นำมาใช้ในตำรับยารักษากลุ่มอาการประจำเดือนมาไม่ปกติมากที่สุด ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 42 ตำรับ และรองลงมาคือ ดีปลี ซึ่งมีจำนวน 36 ตำรับ เมื่อวิเคราะห์รสยาพบว่า รสเผ็ดร้อน เป็นรสที่ใช้รักษากลุ่มอาการประจำเดือนมาไม่ปกติมากที่สุด จะเห็นได้ว่า ในศาสตร์การแพทย์แผนไทย มีการใช้ตำรับยาที่มีรสขม มารักษาอาการปวดประจำเดือน ที่มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงโลหิตและดี แก้โลหิตพิการ และใช้ตำรับยาที่มีรสเผ็ดร้อน มาช่วยขับประจำเดือนที่คั่งค้าง ช่วยขับลม บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อจึงเป็นรสที่นิยมนำมาใช้ในกลุ่มอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ

Author Biography

สลิลทิพย์ ตันปัน

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาตำรับยาสมุนไพรในการรักษาอาการปวดประจำเดือน  และวิเคราะห์รสยาสมุนไพรในแต่ละตำรับ ซึ่งค้นคว้าในหนังสือแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ (ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ) โดยสังเคราะห์คำไทยโบราณที่เกี่ยวกับคำว่าประจำเดือน และได้รวบรวมนำคำที่ได้มาใช้เป็นคำสืบค้นตำรับยาสมุนไพรในการรักษาอาการปวดประจำเดือน แล้วนำมาวิเคราะห์จัดเรียงและแบ่งแยกตำรับยาสมุนไพรตามกลุ่มอาการปวดประจำเดือน และประจำเดือนมาไม่ปกติ ผลการศึกษา พบว่า สมุนไพรที่นำมาใช้ในการรักษาอาการปวดประจำเดือนมากที่สุด คือ สะค้าน และช้าพลู จำนวน 13 ตำรับ รองลงมา คือ รากเจตมูลเพลิง ขิงแห้ง พริกไทย และดีปลี มีจำนวน 12 ตำรับ     เมื่อวิเคราะห์รสยา พบว่า รสขม เป็นรสที่ใช้รักษากลุ่มอาการปวดประจำเดือนมากที่สุด นอกจากนี้ มี ขิง เป็นสมุนไพรที่นำมาใช้ในตำรับยารักษากลุ่มอาการประจำเดือนมาไม่ปกติมากที่สุด ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 42 ตำรับ และรองลงมาคือ ดีปลี ซึ่งมีจำนวน 36 ตำรับ เมื่อวิเคราะห์รสยาพบว่า รสเผ็ดร้อน เป็นรสที่ใช้รักษากลุ่มอาการประจำเดือนมาไม่ปกติมากที่สุด จะเห็นได้ว่า ในศาสตร์การแพทย์แผนไทย มีการใช้ตำรับยาที่มีรสขม มารักษาอาการปวดประจำเดือน ที่มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงโลหิตและดี แก้โลหิตพิการ และใช้ตำรับยาที่มีรสเผ็ดร้อน มาช่วยขับประจำเดือนที่คั่งค้าง ช่วยขับลม บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อจึงเป็นรสที่นิยมนำมาใช้ในกลุ่มอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระคัมภีร์มหาโชตรัตน์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา. (2551). บัญชียาจากสมุนไพร 2549. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ธัญลักษณ์ ปู่คำสุข. (2555). การวิเคราะห์ผลการรักษาอาการปวดประจำเดือนและประจำเดือนมาไม่ปกติโดยกระบวนการรักษาด้วยตำรับยาประสะไพล. วิทยานิพนธ์ปริญญาการแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

นเรศร สุขเจริญ และคณะ. (2547). ตำรานารีเวชวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เบญจมาภรณ์ บุตรศรีภูมิ และยุวดี วิทยพันธ์. (2562). ความชุก ผลกระทบและวิธีการจัดการต่ออาการปวดประจําเดือนในนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 39(1), 41-52.

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ และ โรงเรียน อายุรเวทธำรง สถานการณ์แพทย์แผนไทยประยุกต์คณะ แพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. (2555). ตำราการแพทย์ไทยเดิม (แพทยศาสตร์สงเคราะห์ฉบับอนุรักษ์) เล่มที่ 1 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการ การพิมพ์.

ราตรี พระนคร. (2559). การติดตามผลของการใช้ยาสมุนไพรตำรับ “สาวสองพันปี” ต่ออาการแสดงในระหว่างมีประจำเดือน. วารสาร มฉก.วิชาการ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 19(38), 13-19.

สมศักดิ์ นวลแก้ว. (2543). พฤกษเคมีและการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของตํารับยาแผนไทย (ประสะไพล). วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล และคณะ. (2542). ลักษณะการมีประจำเดือนในสตรีวัยรุ่น ปัญหาและการดูแลตนเองวารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(2), 67-77.

สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. (2551). ตำราการตรวจโรคทั่วไป เล่ม 2 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: โฮลิสติก พับลิชชิ่ง.

Lefebvre G, Pinsonneault O, Antao V, Black A, Burnett M, Feldman K, Lea R, Robert M, SOGC. (2013). Primary dysmenorrhea consensus guideline. J Obstet Gynaecol Can, 27(12), 1117-46.

ZakariaZA, PatahuddinH, Mohamad AS, Israf DA, Sulaiman MR. (2010). In vivo anti-nociceptive and anti-inflammatory activities of the aqueous extract of the leaves of Piper sarmentosum. Journal of ethnopharmacology. 128, 42-48.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-10