ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษีอากร 1 (กรณีศึกษานักศึกษาสาขาการบัญชี ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง)
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, วิชาภาษีอากร 1บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษีอากร 1 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 และ 3) หาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษีอากร 1 ประชากรกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 ทั้งหมดจำนวน 30 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการทดสอบสมมติฐานใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – way Analysis of variance ANOVA) และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Correlation Analysis)
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 20 – 22 ปี ผลการเรียนรายวิชาภาษีอากร 1 เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2.50 - 2.99 รายได้ของครอบครัวต่อเดือนอยู่ระหว่าง 10,000 - 19,999 บาท ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษีอากร 1 (กรณีศึกษาสาขาการบัญชีชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก =3.80 ประกอบด้วย ด้านอาจารย์ผู้สอน =4.13 ด้านผู้เรียน =3.64 และด้านครอบครัว =3.62 ตามลำดับ และการทดสอบหาค่าความแตกต่างข้อมูลทั่วไปกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ระดับชั้นที่ต่างกันจะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ต่างกันระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านผู้เรียน ได้แก่ การใช้เวลาในการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การทำงานระหว่างเรียน และด้านอาจารย์ผู้สอน ได้แก่ การวัดและประเมินผล ความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 สำหรับด้านครอบครัว ได้แก่ รายได้ของครอบครัว การดูแลเอาใจใส่ของครอบครัวไม่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
References
กชพร ใจอดทน และอรณิชชา ทศตา. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา วิทยาลัยนครราชสีมา. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 27 (2), 29.
กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ณัชา วัฒนวิไล, และคณะ. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักการบัญชี1: กรณีศึกษานักศึกษาคณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ณัฐพัชร์ (จารุณี) อภิวัฒน์ไพศาล. (2557). การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยที่ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาบัญชี มหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิพาพร มณฑาทิพย์. (2559). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการสอบบัญชีของนักศึกษาคณะบัญชี วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น. : วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น.
นวรัตน์ ศึกษากิจ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามความคิดเห็นของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาพาณิชยกรรมของโรงเรียนอาชีวศึกษา. มหาวิทยาลัยสยาม.
ปิยะพร บัวระพา และคณะ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
พจนารถ ฤทธิเดช, ปาริชาต บูรพาศิริวัฒน์ และกิ่งกนก วัตนมณี. (2555). การศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักการบัญชี 1 กรณีศึกษาระดับปริญญาตรี คณะพาณิชศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
เพ็ญพร ปุกหุต. (2558). ปัจจัยที่อิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี กรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลอีสาน.
พัชสุดา กัลป์ยาณวุฒิ. (2558). วิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ระดับ ปวช.และระดับ ปวส. ของวิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพลับริหารธุรกิจ. เชียงใหม่ : วิทยาลัย เทคโนโลยีพายัพลับริหารธุรกิจ.
รุจิราพรรณ คงช่วย. (2557). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยทีมีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคใต้. สงขลา : มหาวิทยาราชภัฏ สงขลา.
รุ่งฤดี กล้าหาญ. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคปฏิบัติของนิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สืบค้น มีนาคม 5, 2565 จาก https://www.econ.cmu.ac.th.
วนิดา ดีแป้น. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย โดยการวิเคราะห์พหุระดับ. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
วราภรณ์ ลวงสวาส. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุภาพร คำรศ. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยพะเยา. มหาวิทยาลัยพะเยา.
สำนักงานส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (2565). สถิติจำนวนนักศึกมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. สืบค้น ธันวาคม 29, 2565, จากhttps://drive.google.com.
Bloom, Benjamin S. (1976). Human Characteristics and School Learning. New York :Thomas Y. Crowell Co. Inc.
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrical, 16(3), 297-334.
Mehren, William A. and Lehman Irvin J. (1973). Measurement and Evaluation in Education and Psychology (2nd ed.). New York : Holt, Rinehart and Winson.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.