การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกต้นพุทรา : กรณีศึกษาสวนนายหาญชัย กกฝ้าย บ้านโคกสะอาด ตำบลหนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ณิษา ชัยทองคำ -
  • พัชรินทร์ บำรุงเอื้อ
  • ณัฐวดี โคตรลาคำ
  • นริศรา ดอนละ
  • รชต สวนสวัสดิ์
  • ดนัย ศิริบุรี

คำสำคัญ:

ปลูกพุทรา, ต้นทุน, ผลตอบแทน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการปลูกต้นพุทรา การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน และศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการปลูกต้นพุทรา กรณีศึกษา สวนของนายหาญชัย กกฝ้าย หมู่บ้านโคกสะอาด ตำบลหนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเกษตรกรมีประสบการณ์ปลูกต้นพุทรามา 3 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง

          ผลการศึกษาพบว่า เงินลงทุนเริ่มแรก ประกอบด้วย อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต จำนวน 51,349 บาท ใน 1 ปี มีฤดูกาลการเก็บเกี่ยว 3 เดือนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน จนถึงเดือนมกราคม สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตจากต้นพุทราทั้งหมด 120 ต้น จากพื้นที่ 1 ไร่ ได้ตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไป ซึ่งได้ผลผลิต 500 กิโลกรัม 1,000 กิโลกรัม และ 1,500 กิโลกรัมต่อปี ตามลำดับ โดยมีต้นทุนการผลิตทั้งหมด 49,240 บาท ประกอบไปด้วย ต้นพันธุ์พุทรา 14,400 บาท ค่าแรงงานทางตรง 32,080 บาท ค่าใช้จ่ายการผลิต 2,800 บาท และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 4,410 บาท ผลตอบแทนที่ได้จากการจำหน่ายผลพุทรา มีรายได้จากการจำหน่ายปีที่ 2 – 4 ดังนี้ 23,000 บาท 46,000 บาท และ 69,000 บาทต่อปีตามลำดับ กำไรหรือขาดทุนสุทธิ ปีที่ 1 – 4 เท่ากับ ขาดทุน 53,690 บาท ขาดทุนสุทธิ 16,290 บาท กำไรสุทธิ 6,710 บาทและ 29,710 บาท ส่วนอัตรากำไรหรือขาดทุนขั้นต้นในปีที่ 2 ถึงปีที่ 4 ขาดทุนขั้นต้น ร้อยละ 51.65, กำไรขั้นต้นร้อยละ 24.17 และ 49.45 ตามลำดับ และ อัตรากำไรสุทธิ ปีที่ 2 ถึงปีที่ 4 ขาดทุนสุทธิร้อยละ 70.83, กำไรสุทธิ ร้อยละ 14.59 และ 49.06 ตามลำดับ

References

กุหลาบ หมายสุขกลาง. (2559). ระบบจัดเก็บและรายงานข้อมูลภาวะการผลิตพืชรายเดือน ระดับ

ตําบล (รต.) กรมส่งเสริมการเกษตร. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. กรุงเทพฯ:

กรมส่งเสริมการเกษตร.

จรรยา สัตตานุสรณ์, ไชยธีระ พันธุ์ภักดี และสุกัลยา เชิญขวัญ. (2563). ลักษณะทางสังคมนิเวศที่มีผล

ต่อพฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกพุทราในจังหวัดกาฬสินธุ์.

วารสารเกษตรพระวรุณ. 17(2). หน้า 333-348.

รชต สวนสวัสดิ์. (2564). การบัญชีต้นทุน 2. อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

รัชฏา แต่งภูเขียว, ปิยารัตน์ อันชัยศรี และณัฐพร สารพันธ์. (2566). การวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรมในการ

ปลูกพุทรานมสด กรณีศึกษาเกษตรกรบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 1(3), 17-28.

ศศิวิมล มีอำพล. (2556). การบัญชีเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: อินโฟไมนิ่ง.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2552). การบัญชีต้นทุน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล.

หาญชัย กกฝ้าย. (2566, 15 มกราคม). ราษฎร. หมู่บ้านโคกสะอาด ต.หนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ

จ.อุดรธานี. สัมภาษณ์.

ทองอินทร์ จุมพิต. (2555). โครงการส่งเสริมการปลูกพุทรานมสด แบบครบวงจร สำนักงานเกษตร

อําเภอลอง สํานักงานเกษตรจังหวัดแพร่. สืบค้น มีนาคม 23, 2566 จาก http://www.research.doae.go.th/webphp/webmaster/fileworkres/13472503700004.pdf?fbclid=IwAR3zrMuG9b53DfkRSVVov_WLA39xQchXqC4ib3FYvLkiDnPiCWM3t_ClkHU

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31