ปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ของคนรุ่นใหม่ ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ผกามาศ โอภาสวงศ์อภิรดี -
  • นพินดา ไม้แก้ว

คำสำคัญ:

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, ปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ, ความพึงพอใจ, สินค้าออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยลักษณะทางประชากรศาสตร์ ปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภค ได้แก่ ด้านกิจกรรม ด้านความสนใจ และด้านความคิดเห็น รวมถึงปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ได้แก่ การโฆษณา การขาย การส่งเสริมการขาย และการประชาสัมพันธ์ ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ของคนรุ่นใหม่ ผู้ศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุอยู่ในช่วง 15-29 ปี และเคยใช้บริการแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อย 1 ครั้ง ในช่วง 15 วันที่ผ่านมา จำนวน 410 คน

จากการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 21 ปี การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน/นักศึกษา ส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ย 13,353 บาท ส่วนใหญ่ใช้แพลตฟอร์มในช่วงดึก (19.01-24.00 น.) มียอดการสั่งซื้อเฉลี่ย คือ 201-400 บาท วิธีการชำระเงิน คือ Mobile Banking ประเภทของสินค้าที่ซื้อบนแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด คือ เสื้อผ้าแฟชั่นผู้ชาย/ผู้หญิง เหตุผลหลักในการใช้แพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คือ ดีลและราคาน่าสนใจ ช่วงโปรโมชันที่มีอิทธิพลต่อการซื้อ คือ Monthly Promotion ผลการทดสอบปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการแพลตฟอร์ม E-commerce เพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ของคนรุ่นใหม่ พบว่า ลักษณะทางประชากรศาสตร์ และปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภค ที่แตกต่างกัน ไม่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ของคนรุ่นใหม่ แต่จะมีปัจจัยระดับการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ของคนรุ่นใหม่ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กำพล แก้วสมนึก. (2552). การศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อคุณภาพการบริการ

ของบริษัท พรีซีชั่น ทูลส์เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด. (การศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญาหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณฐอร อุทัยวรรณ. (2559). ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการกรณีศึกษาศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาลัยกรุงเทพ.

ทิพย์อารี ลลิตอุไร. (2563). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและการตระหนักรู้ในตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องปรับอากาศมิตซูบิชิ อีเล็คทริค ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เปรมยุดา แม่นหมาย. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทวิตามินซีของผู้บริโภคในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

ปิยพงษ์ สัจจาพิทักษ์. (2561). อิทธิพลของการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการและความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ที่มีต่อความไว้วางใจของผู้บริโภคในตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของสินค้าโอทอป. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วชิรวัชร งามละม่อม. (2558). แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวกับลักษณะทางประชากรศาสตร์. สิงหาคม 10, 2566 จาก http://learningofpublic.blogspot.com/2015/09/blog-post_11.html

วิชิต อู่อ้น. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของลูกค้าในธุรกิจสปา ขนาดกลางและขนาดเล็กของไทย. วารสารอัล-ฮิกมะฮฺ, 8(16), 87-98.

สุทิน ชนะบุญ. (2560). สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้านสุขภาพเบื้องต้น. สืบค้น กรกฎาคม 8, 2566 จาก https://www.kkpho.go.th/i2021/index.php/component/ attachments/download/1932.

อรดา รัชตานนท์ และคณะ. (2564). ผลกระทบจากธุรกิจ e-commerce ต่อผู้ประกอบการท้องถิ่น. สืบค้น กันยายน 12, 2566 จาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ EconomicConditions/AAA/ECommerce_paper.pdf

อิศรา รักษาพล. (2563). การสื่อสารการตลาดบูรณาการ (IMC) ที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์ ในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28