การนำเสนอซอฟต์พาวเวอร์ผ่านพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา
คำสำคัญ:
ซอฟต์พาวเวอร์, พันธกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา, การศึกษาบทคัดย่อ
การศึกษาเป็นพื้นฐานที่สำคัญของประชาชนทุกคน การศึกษาช่วยขัดเกลาและพัฒนาคนให้เติบโตไปเป็นสมาชิกของสังคมที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยให้คนสามารถดำรงชีวิตอยู่ หาเลี้ยงตนเองและผู้อื่น ไปจนถึงสร้างประโยชน์แก่สังคมประเทศชาติ และหากมองในอีกมุมหนึ่งเราจะยังพบว่าตัวสถานศึกษาเองที่จัดการศึกษาแก่ผู้คนก็จะมีผลต่อประเทศนั้น ๆ ในด้านของชื่อเสียง เช่น หากเรานึกถึงประเทศสหรัฐอเมริกา เราก็จะคุ้นเคยกับชื่อของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ชื่อเสียงยังมีผลต่อผู้คนในสังคมประเทศนั้น ๆ หากมองในระดับที่เล็กลงมา
สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยต่างมีพันธกิจร่วมกันจากการกำหนดนโยบายโดยกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พันธกิจที่ว่านี้เปรียบเสมือนเป้าประสงค์ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย บทความวิชาการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจถึงแนวปฏิบัติที่จะก่อให้เกิดซอฟต์พาวเวอร์ของมหาวิทยาลัยผ่านพันธกิจทั้ง 4 ด้านของสถาบันอุดมศึกษาที่กำหนดโดยกระทรวงอว. ประกอบด้วย ด้านการผลิตบัณฑิต ด้านการวิจัย ด้านการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยผ่านกระบวนการศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เผยแพร่ของสถาบันอุดมศึกษา ตลอดศึกษาจากงานวิชาการประเภทต่าง ๆ ในขอบเขตการนำเสนอเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกับพันธกิจทั้ง 4 ด้าน โดยที่ผู้เขียนจะพิจารณาเนื้อหาผ่านแง่มุมของการมีผู้เล่นทางอำนาจและผู้รับอำนาจ อธิบายประเด็นทางอำนาจกับสถาบันอุดมศึกษา
References
กัลยารัตน์ อนนท์รัตน์. (2556). การจัดการความรู้กับการพัฒนาภารกิจอุดมศึกษาในวิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. Journal of Boromarajournal College of Nursing, Bangkok, 29(2), 142-150.
กฤชพนธ์ ศรีอ่วม. (2565). การสำรวจปัญหาและแนวทางพัฒนานโยบายเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทยผ่านมุมมองซอฟต์พาวเวอร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). https://cuir.car.chula.ac.th/ handle/123456789/79598
ชาริกา ชาญนันทพิพัฒน์. (2565). สร้างซอฟต์พาวเวอร์ มองเกมยาว เปิดกว้างการตีความ “ความเป็นไทย”. สืบค้น มีนาคม 10, 2566 จาก https://tdri.or.th/2022/04/global-soft-power-index-2022/
ฐณยศ โล่พัฒนานนท์. (2563). 4A 2R กับการอธิบาย soft power ในฐานะกระบวนการทางอำนาจ. สืบค้น มีนาคม 10, 2566 จาก https://shorturl.asia/5CcPF
ปิยนันท์ ศิริโสภณ (2565). วัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏ
รําไพพรรณี.
ยศธร ทับทิมอ่อน. (2564). สรุปรวมความสำเร็จของ Squid Game. สืบค้น กันยายน 21, 2566 จาก https://www.moneybuffalo.in.th/business/summarize-the-success-of-squid-game
สุพรรณี จันทร์ภิรมณ์. (2559). จุดเริ่มต้นที่ทำให้เรารู้จักกัน “SUT Run 2Gether”. ENT Digest 59(3), 8-9.
สราวุธ ชัยยอง. (2565). “ห้องเรียนเสมอภาค” แนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่ไม่ทิ้งใครไว้หลังห้อง. CMU Journal of Education, 6(3), 14-28.
beIN Sports. (2022). beIN SPORTS Announces Record-Breaking Cumulative Viewership of 5.4 Billion for FIFA World Cup Qatar 2022TM. Retrieved December 26, 2022 from https://www.beinsports.com/en/fifa-world-cup-qatar-2022/news/bein-sports-announces-record-breaking-cumulat/2011581
Brand Finance. (2022). Global Soft Power Index 2022. Retrieved March 10, 2023 from https://brandfinance.com/press-releases/global-soft-power-index-2022-usa-bounces-back-better-to-top-of-nation-brand-ranking
Joseph S. Nye, (2004). SOFT POWER: THE MEANS TO SUCCESS IN WORLD POLITICS. PublicAffairsTM .
Portland. (2019). THE SOFT POWER 30: A Global Ranking of Soft Power 2019. Retrieved December 26, 2022 from. https://softpower30.com/wp-content/ uploads/2019/10/The-Soft-Power-30-Report-2019-1.pdf
Royal Thai Government. (2565). วธ. เดินหน้าขับเคลื่อน soft power ด้านวัฒนธรรมด้านอาหารของไทยสู่เวทีโลกผ่านสื่อบันเทิง เตรียมส่งภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาหารไทย ร่วมจัดฉายในงานเทศกาลภาพยนตร์มอนตางยอซา. สืบค้น มีนาคม 10, 2566 จาก https://www.thaigov.go.th/ news/contents/details/52649?fbclid=IwAR0WMzghsLyzGF7vAkPVbCWBjLeZE15TaSBiqfzJb_psx3YKvbm2qWitUOc
The Standard Wealth. (2564). คุ้มแล้ว! ‘Tokyo 2020’ โอลิมปิกที่ไม่ทำเงิน แต่เพิ่มอิทธิพล ‘Soft Power’ ให้ญี่ปุ่นกระหึ่มโลก. สืบค้น สิงหาคม 6, 2566 จาก https://thestandard.co/tokyo-olympics-2020-soft-power/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.