การสื่อสารเพื่อรณรงค์การควบคุมบุหรี่ของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี
คำสำคัญ:
บุหรี่, สถานศึกษาปลอดบุหรี่, การรณรงค์ทางการสื่อสาร, การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สถานการณ์การควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบในสถานศึกษาต่ำกว่าระดับอุดมศึกษา 2) ศึกษารูปแบบการสื่อสารเพื่อรณรงค์การควบคุมบุหรี่ของโรงเรียนมัธยมศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมในการสื่อสารเพื่อรณรงค์การควบคุมบุหรี่ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 321 คน และผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 19 คน ใช้วิธีวิธีการสำรวจ การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการพรรณนาโวหาร
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภายหลังจากพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้ การควบคุมบุหรี่ของโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นการขับเคลื่อนจากหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีคู่มือการขับเคลื่อนสถานศึกษาปลอดบุหรี่ และคู่มือเกณฑ์การประเมินสถานศึกษาปลอดบุหรี่ เพื่อขับเคลื่อนการเข้าสู่มาตรฐาน “สถานศึกษาปลอดบุหรี่” 2) รูปแบบการสื่อสารเพื่อรณรงค์การควบคุมบุหรี่ของโรงเรียนส่วนใหญ่ดำเนินงานตามนโยบายหน่วยงานต้นสังกัด มีกลุ่มนักเรียน YC เป็นกลไกสำคัญในการช่วยเหลือเพื่อน มีการประสานงานความร่วมมือกับสำนักงานสาธารณสุขและโรงพยาบาลในพื้นที่ 3) แนวทางการมีส่วนร่วมในการสื่อสารเพื่อรณรงค์การควบคุมบุหรี่ในโรงเรียน ควรมีการกำหนดนโยบายระดับจังหวัด โดยบูรณาการหน่วยงาน มีการจัดทำแผนการสื่อสารที่สามารถปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรเริ่มขับเคลื่อน “โรงเรียนปลอดบุหรี่ไฟฟ้า” ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
References
กรมควบคุมโรคติดต่อ. (2563). คู่มือการขับเคลื่อนสถานศึกษาปลอดบุหรี่ สำหรับสถานศึกษาต่ำกว่า ระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: ไอคอนพริ้นติ้ง.
____________. (2564). คู่มือเกณฑ์การประเมินสถานศึกษาปลอดบุหรี่ สำหรับสถานศึกษาต่ำกว่า ระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: ไอคอนพริ้นติ้ง.
กรมสุขภาพจิต. (2564). ผลสำรวจสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 64 พบคนไทยสูบบุหรี่ไฟฟ้าเกือบ 8 หมื่นคน. สืบค้น พฤษภาคม 20, 2565, จาก https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=31161
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563). แบบสำรวจการดำเนินการตาม 7 มาตรการเพื่อสถานศึกษาปลอดบุหรี่ของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่น (สำหรับโรงเรียน และวิทยาลัย).สืบค้น สิงหาคม 20, 2565 จาก http://www.dla.go.th/upload/document/ type2/2021/6/25603_1_1623896330370.pdf
ฐิติพร แก้ววิมล และอริสา วิภาตะวัต. (2561). การสื่อสารเพื่อการรณรงค์ในโครงการ “อย่าให้ใครว่าไทย”. สืบค้น พฤศจิกายน 24, 2564 จาก http://203.131.210.100/ejournal/wp-content/uploads/2017/12/JCIS60015.pdf
บุญชัย พิริยกิจกําจร และนิรชร ชูติพัฒนะ. (2561). แนวทางการป้องกัน และลด ละ เลิกบุหรี่ของเยาวชน จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(1), 108.
พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560. (2560, เมษายน 8). ราชกิจจานุเบกษา, 134 (39ก), 27-47.
มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่. (2564). 31 พฤษภาคม วันงดสูบบุหรี่โลก องค์การอนามัยโลกเชิญ ชวนให้ผู้สูบบุหรี่ตัดสินใจมุ่งมั่นที่จะเลิกสูบ. สืบค้น ตุลาคม 11, 2564 จาก http://www.ashthailand.or.th/th/news_page.php?id=1538
____________. (2565). กลไกลการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการควบคุมยาสูบแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 - 2570. สืบค้น มกราคม 2, 2566 จาก https://ashthailand.or.th/home/detail/42/194
____________. (2566). บุหรี่ไฟฟ้า 9 สาเหตุที่ทำให้ “บุหรี่ไฟฟ้า” เป็น “สินค้าต้องห้าม” ใน เปิดโปง ข้อเท็จจริงเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า ชุดที่ 1 (มีนาคม 2566). กรุงเทพฯ: มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่.
สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. (2564). วัยรุ่นกับบุหรี่. สืบค้น ตุลาคม 9, 2564
จาก https://new.camri.go.th/infographic/109
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). ห่วงอนาคตวัยรุ่นไทยติดบุหรี่งอมแงม. สืบค้น ตุลาคม 12, 2564 จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/36949
สำราญ แสงเดือนฉาย. (2563). การออกแบบสารในรูปแบบชีวิตวิถีใหม่ MESSAGE DESIGN IN NEW NORMAL. สืบค้น พฤศจิกายน 19, 2564 จาก https://www2.rsu.ac.th/sarnrangsit-online- detail/CommArts-Article21
เสริมศักดิ์ ขุนพล. (2564). รายงานการวิจัย เรื่อง การสร้างสรรค์สื่อรณรงค์แบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเข้าใจและลดปัญหาการเสพน้ำกระท่อมในกลุ่มเยาวชนพื้นที่เสี่ยงของจังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อัสฮา อดุลยรอหมาน. (2563). รูปแบบการป้องกันและควบคุมยาสูบในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ในอําเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส. ใน ประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครปฐม” วันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 (หน้า 1176 – 1185). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
T. and Mefaloputlos, P. (2009). Participatory communication: A practical guide. Washington D.C.: The World Bank.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.