สร้างแบรนด์จากเรื่องเล่า: การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสื่อสารตราสินค้าสบู่สมุนไพรน้อยหน่า ของกลุ่มสตรีบ้านนั่งเย็น ตำบลทะเลชุบศร จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • บุญญเลขา มากบุญ -

คำสำคัญ:

การสื่อสารตราสินค้า , การสื่อสารสัญลักษณ์ , การเล่าเรื่อง , บรรจุภัณฑ์ , น้อยหน่าพระที่นั่งเย็น

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดสบู่สมุนไพรโอทอป และ 2) พัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับสบู่สมุนไพรผสมสารสกัดจากใบน้อยหน่าพันธุ์พระที่นั่งเย็นแบรนด์ “บ้านนั่งเย็น” ผลิตโดยกลุ่มสตรีพระที่นั่งเย็น ตำบลทะเลชุบศร จังหวัดลพบุรี เป็นความร่วมมือระหว่างชุมชน สถาบันการศึกษา องค์กรอิสระและหน่วยงานท้องถิ่น นำแนวคิดการเล่าเรื่องเพื่อสื่อสารตราสินค้า การสื่อสารสัญลักษณ์ ภาษาศาสตร์สังคมปฏิสัมพันธ์และการเล่าเรื่องมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ใช้สัญญะประเภทต่างๆ ได้แก่ รูปภาพ สี โลโก้ เส้น ข้อความ วัสดุ รูปทรง ขนาด และรูปแบบตัวอักษร สร้างความหมาย การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการประเมินคุณภาพบรรจุภัณฑ์โดยผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์แก่นสาระ ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

   การศึกษาพบว่า 1) การแบ่งส่วนทางการตลาดให้สบู่น้อยหน่าพระที่นั่งเย็นเป็นสบู่ประเภทสมุนไพรแก้ปัญหาผิว ขนาด 100 กรัม ราคาขายก้อนละ 50 บาท และ 2) การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สื่อสารบุคลิกและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับแบรนด์ผ่านสัญญะ ได้แก่ ชื่อแบรนด์ “บ้านนั่งเย็น” สโลแกน “สูตรออเจ้าเมืองละโว้” พื้นผิวของบรรจุภัณฑ์โทนสีน้ำตาล รูปภาพผลน้อยหน่า แบบอักษรไทย ลายเส้นเถาวัลย์ และการแสดงประวัติน้อยหน่าพระที่นั่งเย็น รวมทั้งข้อมูลสรรพคุณน้อยหน่าตามภูมิปัญญาไทย โดยเชื่อมโยงกับประวัติน้อยหน่าพระที่นั่งเย็นที่เชื่อว่าเข้ามาเมืองไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์กว่า 300 กว่าปี ชาวชุมชนทะเลชุบศรปลูกตามบ้านเรือนที่ตั้งอยู่บริเวณพระที่นั่งเย็นมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนการประเมินคุณภาพบรรจุภัณฑ์ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2542). การวิเคราะห์สื่อแนวคิดและเทคนิค (พิมพ์ครั้งที่ 2). เพรส โพรดักส์ ทวี.

จิติมา เสือทอง, มัทนา โมรากุล และวรฤทัย หาญโชติพันธุ์. (2555). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ขนม

ทองพับ กลุ่มสตรีแม่บ้านเขียวขจี จังหวัดนนทบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

จรูญ โกสีย์ไกรนิรมล. (2528). การตลาดเพื่อการส่งออก. ไนน์.

ณัฐพล ม่วงทำ. (2567). Customer Relationship Marketing การตลาดแบบใส่ใจ ลูกค้าใหม่เพิ่ม

ลูกค้าเดิมบอกต่อ. Shortcut.

ดลขัย บุณยะรัตเวช. (2563). สร้างแบรนด์ด้วยเรื่องเล่าไม่เท่าลงมือทำ. อมรินทร์พริ้นติ้ง.

ธีรพันธ์ โล่ห์ทองคา. (2544). กลยุทธ์สื่อสารการตลาดแบบครบวงจร. ทิปปิ้ง พอยท์.

ปรารถนา วันมี. (2567). Hook Point จุด-จับ-ใจ. ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์.

วิทวัส ชัยปาณี. (2545). Consumer Insight. เลิฟ แอนด์ ลิฟ.

เสาวภา พิณเขียว และนภวรรณ ตันติเวชกุล. 2560. การสื่อสารความเป็นตราสินค้าระดับโลกของตรา

สินค้าระดับโลกและตราสินค้าท้องถิ่นของประเทศไทย. Journal of Business, Economics and Communication, 12(2), 93-109.

ศิริกุล เลากัยกุล. (2546). สร้างแบรนด์. อมรินทร์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีย์รัตน์, องอาจ ปทะวานิช และปริญ ลักษิตานนท์. (2546). การบริหาร

การตลาดยุคใหม่. บริษัท ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์ จำกัด.

ศศิธร สิงห์เถื่อน. (2566). แบรนด์ไหนจะปัง วัดที่พลังการสื่อสาร : Building A StoryBrand.

ลีฟริช ฟอร์เอฟเวอร์.

ศรัณย์ อมาตยกุล, ก่อพงษ์ พลโยราช และวาลี ปรีชาปัญญากุล. (2560). การใช้แนวคิดการบริโภคเชิงสัญญะ

ร่วมกับแนวคิดบุคลิกภาพตราสินค้า. วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี, 1(1), 54-65.

Barthes, R. (1957). Mythologies. Translation 1972 by Jonathan Cape Ltd.

Gumperz, J. (1982). Discourse Strategies. Cambridge University Press.

Makboon, B. (2015). Spiritual vegetarianism: Identity in everyday life of Thai

non-traditional religious cult members. (PhD thesis, Auckland University of Technology.)

Norris, S. (2004). Analyzing Multimodal Interaction: A Methodological Framework. Routledge.

Saussure, Ferdinand de. (1959). “Course in General Linguistics” Edited by Charles Bally

and Albert Sechehaye in Collaboration with Albert Riedlinger. Translated with an

Introduction and Notes by Wade Baskin. McGrawhill 1966.

Shimp, A.T. (2007). Integrated Marketing Communications in Advertising and Promotion.

Thomson South-Western, 2007

Tannen, D. (1984). Conversational style: Analyzing talk among friends. Ablex

Publishing Corporation.

Leeuwen, V. (2011). The Language of Colour: An Introduction. Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30