พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยว อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • เสกสรร สายสีสด มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • วลิดา จันทร์ทา
  • เมษา สุวรรณหอม

คำสำคัญ:

พฤติกรรมนักท่องเที่ยว, ความพึงพอใจนักท่องเที่ยว, แหล่งท่องเที่ยวอำเภอสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวอำเภอสังคมจังหวัดหนองคาย 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวอำเภอสังคมจังหวัดหนองคาย โดยศึกษาจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย จำนวน 400 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในอำเภอสังคมส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุ 20 – 30 ปี มีระดับการศึกษาอนุปริญญา/ปวส. รายได้ต่อเดือน 10,000 – 20,000 บาท 2) พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวอำเภอสังคมจังหวัดหนองคายพบว่านักท่องเที่ยวมีวัตถุประสงค์เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ โดยมีอิทธิผลมาจากครอบครัว  เดินทางมาเที่ยวกับเพื่อนและครอบครัวในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ (เสาร์ - อาทิตย์) ค้างคืน 1 คืน นักท่องเที่ยวส่วนมากมาครั้งแรก ค่าใช้จ่าย 1,000 – 2,000 บาท นักท่องเที่ยวจะกลับมาเที่ยวอำเภอสังคมอีกแน่นอน สถานที่ที่นักท่องเที่ยวไปมากที่สุดคือน้ำตกธารทองและชื่นชอบมากที่สุดคือน้ำตกธารทองเช่นเดียวกัน 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยว อำเภอสังคมผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจด้านสถานที่ท่องเที่ยวอยู่ในระดับมากที่สุด   (𝑥̅= 4.53) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ในระดับมาก ( = 4.15) ด้านประชาชนในท้องถิ่นอยู่ในระดับมาก         (𝑥̅= 4.20) ด้านร้านค้า ร้านอาหารและเครื่องดื่มอยู่ในระดับมาก (= 4.01)

References

กุณฑล เพ็ชรเสนา และศิริเพ็ญ ดาบเพชร. (2565). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์ด้วยแนวคิด

แรงบันดาลใจจากคุณค่าของวรรณกรรม. วารสารวิจัยรําไพพรรณี, (16)1, 24-34.

กุลวรา สุวรรณพิมล. (2548). ความหมายของนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ด ดูเคชั่น อินโดไชน่า.

งานวิเคราะห์ตลาดในประเทศ กองกลยุทธ์การตลาด. (2566). สรุปสถานการณ์ท่องเที่ยวตลาดในประเทศ (เดือนมกราคม-มีนาคม 2566). https://tatreviewmagazine.com/article/dom-q2-2023/

ชวัลนุช อุทยาน. (2552). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

https://touristbehaviour.wordpress.com

ชนพัฒน์ ช่วยครุฑ และคณะ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของเยาวชนไทย

หลังยุคโควิด 19. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,

(3), 187-201.

น้ำตกธารทอง. (2567). ข้อมูลน้ำตากธารทอง. https://tripth.com/?sน้ำตกธารทอง

________ (2567). ข้อมูลน้ำตกธารทิพย์ https://travel.trueid.net/detail/V7RdkZjLQdLr

ดวงใจ ฤดีสถิต. (2563). องค์ประกอบด้านการท่องเที่ยวและแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจท่องเที่ยว

ทัวร์ไหว้พระของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร.(สารนิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทักษญา เปรมชุติวัต. (2561). ปัจจัยด้านพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีอิทธิพล

ต่อแนวโน้มการกลับมาเที่ยวซ้ำยังแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ

มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ปริณา ลาปะ. (2558). พฤติกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมาของนักท่องเที่ยวชาวไทย.

วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 4(1), 30-45.

แผนยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย. (2567). การวิเคราะห์กรอบการจัดทำยุทธศาสตร์

ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. https://nongkhaipao.go.th/public/list/data/ detail/id/3985/menu/1196/page/1/catid/3

รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดหนองคาย. (2565). สถานการณ์ทางสังคมจังหวัดหนองคาย.

https://www.msociety.go.th/ewtadmin/ewt/mso_web/download/article/article_

pdf

วราภรณ์ พรมบัว และคณะ. (2567). แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวสวนนงนุชพัทยา

จังหวัดชลบุรีหลังสถานการณ์โควิด –19. วารสารร่มยูงทอง, 2(1), 64-77.

วัลย์จรรยา วีระกุล. (2563). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการมาท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัด

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 14(1), 191-204.

สกายวอร์ค วัดผาตากเสื้อ. (2567). ข้อมูลวัดผาตากเสื้อ. https://www.facebook.com/Watphataksue/

สมาภรณ์ คงเจริญกาย. (2548). พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้เข้ามาท่องเที่ยวที่มีผลต่อการท่องเที่ยว

แบบยังยืนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สุธิดา เผือกบำรุง และคณะ. (2564). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย

ในการใช้บริการที่พักเชิงนิเวศในจังหวัดเชียงใหม่. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ. https://ir.swu.ac.th/jspui/bitstream/

/27745/1/Ece-Suthida-P-2564.pdf

สุรสิทธิ์ วิเชียร. (2561). การศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวไทยต่อการเข้าพักโรงแรมและรีสอร์ท-

ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์

และสังคมศาสตร์, 1(1), 13-24.

เสฏฐวุฒิ ธนธิติปรีดา. (2565). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง

จังหวัดสมุทรปราการ. https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/ml10/6114962008.pdf

สายสุดา ปนตระกูล. (2565). การจัดการแหลงเรียนรูดานการทองเที่ยวของชุมชนบานศาลาดินจังหวัด

นครปฐม. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 95-107.

อรทัย มูลคำ. (2552) พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่ออุทยานแห่งชาติ

ในภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ : กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์และอุทยานแห่งชาติ

ดอยสุเทพ-ปุย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร. https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail? Resolv_DOI=10.14457/NU.the.2009.256

Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Analyzing consumer market (15 ed..). Harlow, Essex,

Englan : pearson education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30