การสื่อสารการตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ ของผู้บริโภคเจนเนอร์เรชั่น Z ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อาทิตยา อาจธัญกรณ์ -
  • ณฆรินทร์ ประเสริฐสุข
  • ธนวิชญ์ วงศ์สอน
  • อนิตา ประดาอินทร์
  • อัจฉราพร แปลงมาลย์
  • สรวิทย์ ปานพินิจ

คำสำคัญ:

Digital Marketing Communication, Purchasing Behavior, Online Products

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ 2) ศึกษาอิทธิพลของการสื่อสารการตลาดดิจิทัลที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 4) การรับรู้ต่อการสื่อสารการตลาดดิจิทัล จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริโภคเจนเนอเรชั่น Z ในประเทศไทย จำนวน 400 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ใช้การวิเคราะห์ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 เพื่อทดสอบสมมติฐาน

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) เพศและอาชีพที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อประเภทสินค้าที่ลูกค้าเลือกซื้อ และ แพลตฟอร์มที่ใช้ในการซื้อ 2) ระดับการศึกษา สถานภาพและรายได้ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อช่วงเวลาในการซื้อ 3) รายได้และสถานภาพที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อวิธีการชำระเงิน การสื่อสารการตลาดดิจิทัล 4) ระดับการศึกษาและสถานภาพที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัล และการใช้พนักงานขายผ่านสื่อดิจิทัล 5) สถานภาพที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการส่งเสริมการขายผ่านสื่อดิจิทัล 6) สถานภาพและรายได้ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการขายและประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อดิจิทัล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ผู้ประกอบการควรพัฒนากลยุทธ์การตลาดให้เหมาะสมกับลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่น Z เช่น การสร้างโปรโมชั่นเฉพาะกลุ่ม การเลือกใช้สื่อที่เหมาะสม และการกำหนดช่วงเวลาที่ตรงกับพฤติกรรมการซื้อ เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขายและความพึงพอใจของลูกค้า

References

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. (2564). มาตรการข้อคำสั่งโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-19).

https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/im_commands.php

ชนิตา สุขสวัสดิ์. (2565). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ของผู้บริโภค

จังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

นัทริกา รังหอม. (2565). การสื่อสารการตลาดดิจิทัล ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อบริการอินเทอร์เน็ต

บ้านของผู้บริโภคในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ปิยมาภรณ์ ช่วยชูหนู. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์

(การค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปรีดี นุกูลสม. (2563). รวมสถิติการใช้เทคโนโลยีของแต่ละรุ่น.

https://www.popticles.com/insight/technology-usage-for-each-

พนิดา ตันศิริ. (2565). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของกลุ่มเจ

เนอเรชัน Z ในกรุงเทพมหานคร. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-

ss/article/view/255438/173020

รัตนาภรณ์ ธนาคุณ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชั่น Tik Tok

ของผู้บริโภคในประเทศไทย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

วัชระ สุขเกษม. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารแช่เย็นพร้ อมรับประทานผ่านร้านสะดวกซื้อ

ของกลุ่มคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร (การศึกษาอิสระวิทยาลัยการจัดการ). มหาวิทยาลัยมหิดล

กรุงเทพมหานคร.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565). B2C E-commerce ปี 65-66. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ 14(2),65

สุพัตน์ ชีวเกษมสุข. (2559). การศึกษาแบ่งกลุ่มคนเจนเนอเรชั่น z โดยใช้ปัจจัยด้านทัศนคติที่มีต่อการ

ทำงานประจำ. (การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

เสรี วงษ์มณฑา. (2552). การวิเคราะห์ พฤติกรรมผู้บริโภค.กรุงเทพฯ: ธีระฟิ ล์ม และไซเท็กซ์.

อัฐพล วุฒิศักดิสกุล. (2560). การสื่อสารการตลาดดิจิทัลกับการตัดสินใจใช้บริการขนส่งออนไลน์ (Online

Messengers) ผ่านแอพพลิเคชั่น ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.

http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/2829#:~:text=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E

อรรณพ แสงภู. (2564). การสื่อสารการตลาดแบบดิจิทัลที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าผ่านระบบ

พาณิชยอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในจังหวัดราชบุรี. ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 มนุษยสังคมสาร (มสส.)

มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง

Donthu & Gilliland. (1996). Observations: The infomercial shopper. Journal of Advertising

Research, 36(2), 69–76.

Tushman & Romanelli. (1985). Organizational evolution: A metamorphosis model of

convergence and reorientation. Research in Organizational Behavior, 7, 171–222.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

อาจธัญกรณ์ อ., ประเสริฐสุข ณ., วงศ์สอน ธ. ., ประดาอินทร์ อ. ., แปลงมาลย์ อ. ., & ปานพินิจ ส. (2024). การสื่อสารการตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ ของผู้บริโภคเจนเนอร์เรชั่น Z ในประเทศไทย. วารสารร่มยูงทอง, 2(3), 1–15. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/article/view/4148