การศึกษาสภาพปัญหาและพัฒนาศักยภาพตามความต้องการของชุมชนในพื้นที่บ้านห้วงมะระ หมู่ที่ 5 ตำบลหนองกระทุ่ม อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี
คำสำคัญ:
สภาพปัญหา, พัฒนาศักยภาพตามความต้องการ, การพัฒนาเชิงพื้นที่บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและพัฒนาศักยภาพตามความต้องการของชุมชนในพื้นที่บ้านห้วงมะระ หมู่ที่ 5 ตำบลหนองกระทุ่ม อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสังเกตภาคสนาม แบบสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามความพึงพอใจ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่มกับกลุ่มผู้นำชุมชน ตัวแทนหน่วยงานราชการ และตัวแทนประชาชน รวมถึงการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่สมาชิกชุมชน จำนวน 30 คน
ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่เผชิญปัญหาความไม่แน่นอนด้านรายได้ พืชผลการเกษตรราคาต่ำ และขาดการรวมกลุ่มเพื่อสร้างอาชีพเสริม ชุมชนมีความต้องการในการพัฒนาอาชีพโดยการแปรรูปผลผลิตการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยมีข้อคิดเห็นร่วมกันว่าจะสร้างอาชีพเสริมโดยการทำข้าวเกรียบจากพืชผลในชุมชน สร้างตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ให้สามารถขายเป็นรายได้เสริม การอบรมเชิงปฏิบัติการที่จัดขึ้นช่วยให้ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้ในการแปรรูปผลผลิต การสร้างตราสินค้า และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ พร้อมทั้งสามารถนำความรู้นี้ไปใช้ในการพัฒนารายได้ของตนเองและครอบครัว ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมอบรม พบว่ามีความพึงพอใจในด้านเนื้อหา ( = 4.90, S.D. = 0.23) การดำเนินการ (= 4.77, S.D. = 0.22) และวิทยากร (= 4.85, S.D. = 0.19) อยู่ในระดับมากที่สุด
References
ภาษาไทย
เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. (2527). การบริหารงานพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
เฉลียว บุรีภักดี, & คณะ. (2545). ชุดวิชาการวิจัยชุมชน. กรุงเทพฯ: เอส อาร์ พรินติ้ง แมสโปรดักส์.
ทวี ทิมขำ. (2528). การพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โอ เอส พริ้นติงก์ เฮาซ์.
ประเวศ วะสี. (2541). ชุมชนเข้มแข็ง: แนวคิดและประสบการณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.
ปาริชาติ วลัยเสถียร, และคณะ. (2543). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
บัณฑร อ่อนดำ. (2545). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนแบบยั่งยืน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2525). การพัฒนาชนบท: เอกสารประกอบการบรรยายวิชาการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุนทร พูนเอียด. (2543). กระบวนการพัฒนาชุมชน. สุราษฎร์ธานี: สถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
สุภางค์ จันทวานิช. (2549). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อคิน รพีพัฒน์. (2531). ปัญหาการพัฒนาชนบท: บทเรียนจากกรณียกกระบัตร โครงการพัฒนาชนบทลุ่มน้ำแม่กลอง. ขอนแก่น: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ภาษาอังกฤษ
Allen, J., Smith, R., & White, P. (2019). Community workshops as a tool for sustainable development. Journal of Community Development, 54(3), 23–35.
Brownlea, A. (1987). Participation: Myths, reality, and prognosis. New York: Basic Books.
Bearley, R. (1990). Collaborative processes in rural community projects. Development Quarterly, 15(1), 45–58.
Dunham, A. (1958). The outlook for community development in The Social Welfare Forum: Proceedings of the National Conference on Social Welfare.
Hodgson, J. A., Thomas, C. D., Wintle, B. A., & Moilanen, A. (2011). Hill habitat re-creation strategies for promoting adaptation of species to climate change. Journal of Applied Ecology, 48(3), 682–690. https://doi.org/10.1111/j.1365-2664.2011.01954.x
Hodgson, J. A., Thomas, C. D., Wintle, B. A., & Moilanen, A. (2011). Hill habitat re-creation strategies for promoting adaptation of species to climate change. Conservation Letters, 4(5), 289–297. https://doi.org/10.1111/j.1755-263X.2011.00170.x
Karasik, P. (2020). Effective community engagement strategies. Journal of Social Innovations, 25(4), 55–69.
Kwadzo, G. (2022). Supplemental income generation in rural agriculture. Agricultural Economics Review, 33(5), 78–90.
Miniclier, L. (1956). Social processes in rural development. Journal of Rural Studies, 12(3), 35–49.
Reeves, D. (1970). Essential components of successful community groups. Sociological Review, 18(6), 123–140.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.